งานวิจัย การศึกษาภูมิปัญญาลายผ้าสู่นวัตกรรมการจัดเก็บผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร


การศึกษาภูมิปัญญาลายผ้าสู่นวัตกรรมการจัดเก็บผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร

การศึกษาภูมิปัญญาลายผ้าสู่นวัตกรรมการจัดเก็บผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อการศึกษา 1) ที่มาของภูมิปัญญาจากลายผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ได้แก่ บริบทของจังหวัดสกลนคร ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลการทอผ้าของกลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร 2) ลายผ้าที่ได้รับความนิยมในจังหวัดสกลนคร ได้แก่รายชื่อของลายผ้าดั้งเดิม ลายชื่อลายผ้าที่ได้รับความนิยมตามลักษณะ ลวดลาย รูปแบบ วัตถุดิบ และการใช้สีการเปรียบเทียบความแตกต่างของลวดลายผ้าดั้งเดิมกับลวดลายผ้าที่ได้รับความนิยม 3) การพัฒนานวัตกรรมการจัดเก็บลายผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร 4) การสร้างคู่มือการอ่านลายผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มสตรีทอผ้าทั้ง 18 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลการสัมภาษณ์จากกลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ บรรยายเชิงพรรณนา และนำข้อมูลไปใช้กับนวัตกรรมการจัดเก็บข้อมูลลายผ้าจากภูมิปัญญา และจัดทำคู่มือการอ่านลายผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยพบว่า 1) ที่มาของภูมิปัญญาจากลายผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ บริบทของจังหวัดสกลนคร ตั้งห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 90 เมตร มีการใช้พื้นที่ส่วนมากเป็นที่นา รองลงมาเป็นพืชไร่ และพืชผัก การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ ประกอบด้วยชนเผ่าพื้นเมือง 6 เผ่า มีกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองที่โดดเด่น 7 อำเภอ การทอผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัด กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51- 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 41 การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 96 อาชีพหลักทำนา และอาชีพรอง ทอผ้า คิดเป็นร้อยละ 100 เริ่มทอผ้า อายุระหว่าง 17 - 19 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.5 ผู้สอนทอผ้าคนแรก คือ คุณแม่ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ้าซิ่นฝ้ายมัดหมี่ ผืนแรกที่ทอ คือ ลายหมากจับ คิดเป็นร้อยละ 65 ลายผ้าที่ได้รับความนิยมมาจากการลอกเลียนแบบจากเพื่อนบ้าน คิดเป็นร้อยละ 68.2 ลายที่ถูกนำมาใช้ออกแบบมากที่สุด คือ ลายหมากจับ คิดเป็นร้อยละ 35 วิธีคิดชื่อลายผ้าใช้วิธีจำชื่อลายจากที่คุณแม่สอน คิดเป็นร้อยละ 59 สาเหตุ ที่คิดทอผ้าลายใหม่ คือ ทอตามลูกค้าสั่ง คิดเป็นร้อยละ 50 การพิจารณาลายหลักจากขนาดของลายสะดุดตา คิดเป็นร้อยละ 50 ลายประกอบพิจารณาจากความเหมาะสมกลมกลืนของลาย คิดเป็นร้อยละ 55 เทคนิคการทอผ้าใช้การทอลายขัด คิดเป็นร้อยละ 61.2 แรงบันดาลใจในการคิดลายใหม่ เกิดจากการดูลายที่ชอบ มาทอรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 36.3 รูปแบบการทอลายดั้งเดิม คือ ซิ่นหมี่รวดมากที่สุด เป็นลักษณะลวดลายสัตว์ รองลงมา คือ ผ้าซิ่นหมี่คั่นลวดลายสัตว์คั่นการทอพื้นลายมับไม (ลายหางกระรอก) วัตถุดิบที่ใช้มากที่สุด คือ ฝ้าย การใช้สีมี 2 สี คือ สีครามกับสีขาว คิดเป็นร้อยละ 68 2) ลายผ้าที่ได้รับความนิยม รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ผ้าสำหรับตัดชุด โดยทอลายมัดหมี่ร่วมกับผ้าพื้นอย่างละครึ่งผืน (ความยาว 3.00 - 3.50 เมตร) มีลักษณะลวดลายพื้นฐาน รองลงมามีรูปแบบผ้าซิ่นหมี่รวด มีลักษณะลวดลายที่ใช้ไล่เลี่ยกัน วัตถุดิบที่ใช้มากที่สุด ฝ้าย การใช้สี มี 2 สี คือ สีครามกับขาว คิดเป็นร้อยละ 55 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลายผ้าที่ได้รับความนิยม พบว่ามีรูปแบบมากกว่า ขนาดของลายลดลง ขนาดความกว้างของหน้าผ้าเพิ่มขึ้น วัตถุดิบที่ใช้มากกว่า สีที่ใช้มากกว่า เทคนิคการทอเพิ่มขึ้น ลวดลายที่ใช้น้อยลง คือ ลวดลายพื้นฐาน ได้แก่ ลายหมากจับ และลายตุ้ม บนเทคนิคการทอผ้าสี่เขา หรือผ้าลายดอกแก้ว 3) การพัฒนานวัตกรรมการจัดเก็บลายผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ซึ่งสามารถพัฒนาได้เป็นระบบฐานข้อมูลลายผ้าดั้งเดิมและลายผ้าที่ได้รับความนิยมในจังหวัดสกลนคร โดยระบบนี้สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข และรายงานผล ข้อมูลดังกล่าวได้

ทุนวิจัยสกอ
เทคโนโลยีการเกษตร
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
คราม
คราม

เจ้าของผลงาน
ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง
กรรณิการ์ กมลรัตน์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง เเละ กรรณิการ์ กมลรัตน์ . (2555). การศึกษาภูมิปัญญาลายผ้าสู่นวัตกรรมการจัดเก็บผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สถิติการเข้าชม