งานวิจัย การคัดเลือกพันธุ์ครามและพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่ให้สีคราม


การคัดเลือกพันธุ์ครามและพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่ให้สีคราม

การคัดเลือกพันธุ์ครามและพืชที่ให้สีคราม ทำการทดลองที่แปลงปฏิบัติการพืชศาสตร์ คณะ เทคโนโลยีการเกษตร และห้องปฏิบัติการเคมี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พบว่า พันธุ์ครามในกลุ่มจังหวัดสนุก เป้นครามฝักตรงและครามฝักงอ เป็นไม้พุ่มสูง 90-120 เซนติเมตร ใบเป็นใบประกอบขนนก ประกอบด้วยใบย่อย 3-21 ใบ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ (raceme) สีชมพูอมแดงถึงชมพูอมส้มช่อดอกเกิดบริเวณซอกใบ ฝักโค้งงอ และฝักตรง ติดฝัก หลังดอกบาน 3-4 วัน ครามผักงอมีเมล็ดแก่สีดำ ครามฝักตรงมีเมล็ดสีเหลืองอมเขียว มีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มี 4-12 เมล็ดต่อฝัก พันธุ์ครามนครพนมให้ผลผลิตมากที่สุดเฉลี่ย 1,792 กิโลกรัมต่อไร้รองลงมาคือพันธุ์ กาฬสินธุ์เฉลี่ย 1,674.67 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างกับพันธุ์มุกดาหาร และพันธุ์สกลนคร ที่ให้ผลผลิต เฉลี่ย 1,609.60 และ 1,376 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากมีใบค่อนข้างหนาและมีจำนวนใบมากถึง 21 ใบ แต่พันธุ์กาฬสินธุ์ให้ปริมาณสีครามมากที่สุด คือ 0.0221 กรัม ต่อใบคราม 100 กรัม รองลงมาคือ พันธุ์มุกดาหาร พันธุ์สกลนคร และพันธุ์นครพนม แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การศึกษาพืชที่ให้สีครามอื่นๆที่นำมาใช้แทนสีครามหรือใช้เสริมสีครามได้คือ ใบเบิกที่ให้ สีคราม 0.0254 กรัม ต่อใบเบิก 100 กรัม ที่ระดับอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ส่วนใบเหมือดแอ ไม่ให้สีคราม แต่มีความเป็นกรดสูง จึงใช้ในการปรับความเป็นกรดในน้ำย้อมครามได้

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
คราม
คราม , พันธุ์คราม, สีคราม

เจ้าของผลงาน
อังคณา เทียนกล่ำ
อนุรัตน์ สายทอง,สุรชาติ เทียนกล่ำ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อังคณา เทียนกล่ำ ,อนุรัตน์ สายทอง เเละ สุรชาติ เทียนกล่ำ . (2552). การคัดเลือกพันธุ์ครามและพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่ให้สีคราม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.