งานวิจัย ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาสวยงามกลุ่มปลาตะเพียนในลุ่มแม่น้ําสงครามเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย


ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาสวยงามกลุ่มปลาตะเพียนในลุ่มแม่น้ําสงครามเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเทคนิคพันธุศาสตร์ เซลล์ระดับพื้นฐานและระดับโมเลกุลของปลาตะเพียนสวยงามจากลุ่มน้ําสงครามในประเทศไทยจํานวน 10 ชนิด ได้แก่ ปลาสร้อยนกเขา ปลาเสือข้างลาย ปลาแก้มช้ํา ปลากระแห ปลาปากเปลี่ยน ปลากาแดง ปลากาดํา ปลาตะเพียนทอง ปลากระมัง และปลามะไฟ ใช้ตัวอย่างเพศผู้และเพศเมียเพศละ 10 ตัวต่อ ชนิด เตรียมโครโมโซมโดยวิธีทางตรง แล้วย้อมสีโครโมโซมโดยเทคนิคการย้อมแบบธรรมดา แถบสีแบบ เอ็นโออาร์ และโพรบไมโครแซทเทิลไลต์ d(TA)15, และ d(CAA)10 ผลการศึกษาพบว่าปลา 10 ชนิด มี จํานวนโครโมโซมดิพลอยด์เท่ากับ 50 แท่ง เท่ากัน จํานวนโครโมโซมพื้นฐานทั้งเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 100, 94, 84, 94, 66, 88, 86, 96, 96 และ 100 ในปลาสร้อยนกเขา ปลาเสือข้างลาย ปลา แก้มช้ํา ปลากระแห ปลาปากเปลี่ยน ปลากาแดง ปลากาดํา ปลาตะเพียนทอง ปลากระมัง และปลา มะไฟ ตามลําดับ ไม่พบความแตกต่างของโครโมโซมระหว่างปลาเพศผู้และเพศเมีย โครโมโซม เครื่องหมายที่มีตําแหน่งเอ็นโออาร์ในปลาทั้ง 10 ชนิด พบจํานวน 1 คู่ ในปลาสร้อยนกเขา ปลาเสือ ข้างลาย ปลาปากเปลี่ยน ปลากาแดง ปลากระมัง และปลามะไฟ หรือ 2 คู่ ในปลาแก้มช้ํา ปลากระแห ปลากาดํา และปลาตะเพียนทอง ปลาทุกชนิดยกเว้นปลาปากเปลี่ยนพบตําแหน่งเอ็นโออาร์จะอยู่บน บริเวณที่เป็นแขนข้างสั้น และพบสัญญาณโพรบไมโครแซทเทิลไลต์ ในปลาทั้ง 10 ชนิดพบกระจาย หนาแน่นตรงบริเวณเฮเทอโรโครมาทินและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละชนิดสูตรแคริโอไทป์ในปลาทั้ง 10 ชนิดมีดังนี้ ปลาสร้อยนกเขา คือ 2n (50) = 16m + 30sm + 4a ปลาเสือข้างลายคือ 2n (50) = 6m + 22sm + 16a + 6t ปลาแก้มช้ําคือ 2n (50) = 8m + 10sm + 16a + 16t ปลากระแหคือ 2n (50) = 6m + 18sm + 20a + 6t ปลาปากเปลี่ยนคือ 2n (50) = 4m + 12sm + 34t ปลากาแดงคือ 2n (50) = 18m + 10sm + 10a + 12t ปลากาดําคือ2n (50) = 10m + 6sm + 20a + 14t ปลา ตะเพียนทองคือ 2n (50) = 20m + 10sm + 16a + 4t ปลากระมังคือ 2n (50) = 20m + 10sm + 16a + 4t และปลามะไฟคือ 2n (50) = 24m + 26sm องค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาสวยงามทั้ง 10 ชนิด สามารถใช้เป็น ฐานข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาต่อยอดในอนาคตเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ปลาสวยงามที่มีความสําคัญชนิด ใหม่ของประเทศไทยได้

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
เทคโนโลยีการเกษตร
-
-
-
ปลาตะเพียน, ลุ่มน้ําสงคราม, โครโมโซม, ปลาสวยงาม

เจ้าของผลงาน
อาจารย์นวรัตน์ เมืองเล็น
รศ.ดร.วีระยุทธ สุภิวงค์, ศ.ดร.อลงกลด แทนออมทอง

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์นวรัตน์ เมืองเล็น ,รศ.ดร.วีระยุทธ สุภิวงค์ เเละ ศ.ดร.อลงกลด แทนออมทอง . (2567). ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาสวยงามกลุ่มปลาตะเพียนในลุ่มแม่น้ําสงครามเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.