การสร้างระบบตรวจสอบมาตรฐานสินค้า จังหวัดสกลนคร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานผ้ายอ้มคราม สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และ ขยายตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม เก็บข้อมูลโดยการประชุม สัมมนาผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ผลิต ผู้แทน ชุมชน ผู้บริโภค นักวิจัย นักธุรกิจ และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนจากทุกหน่วยมีความเห็น ตรงกันถึงความจา เป็นในการสร้างมาตรฐานผ้าย้อมคราม เพื่อความมั่นใจแก่ผู้บริโภค โดยกลุ่มผู้ผลิต และชุมชนเห็นว่าไม่จา เป็นต้องเร่งด่วน ควรเน้นการพัฒนาคุณภาพคน นา ไปสู่การพัฒนาคุณภาพผ้า จนเกิดวัฒนธรรม “ การสร้างผ้ายอ้มครามที่มีคุณค่าต่อชุมชน” ผู้ผลิตรวมถึงชุมชนเป็นผู้ควบคุม เฝ้าระวัง และสืบทอด บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและไว้ใจกัน อีกทั้งสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคผ้าย้อมคราม ในบทบาทสินค้าชุมชน โดยคุณภาพคน เน้นที่ความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม เข้าใจคุณค่าของผ้ายอ้มคราม และรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มด้วยสัญลักษณ์หรือตราสินค้า ส่วนกลุ่มนักวิจัยเข้าใจในกระบวนการ ผลิตสีและย้อมครามจากวัตถุดิบธรรมชาติด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคุมยาก ขณะที่ผู้บริโภคต้องการ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและคุณธรรมจริยธรรมของผู้ผลิต ดังนั้นจึงไม่สามารถกำหนดมาตรฐานผ้ายอ้ม คราม ไม่มีหน่วยตรวจสอบ และรับรอง ดังเช่นสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนด มาตรฐานผ้ายอ้มครามสกลนคร พร้อมยอมรับนา ไปปฏิบัติดังนี้ 1. ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ทั้งสีคราม เส้นใย และน้ำขี้เถ้า 2. ย้อมด้วยการหมักเนื้อครามในน้ำขี้เถ้าตามวิธีของภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ใช้เครื่องมือทอผ้าพื้นบ้าน พัฒนาด้วยเทคโนโลยีพื้นบ้าน 4. ผ้าทุกผืนมีเอกลักษณ์ มีเรื่องราว 5. รักษาจิตวิญญาณของผู้ผลิตและชุมชนในความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ทั้งกับชุมชนและ สิ่งแวดล้อม ส่วนมาตรฐานในระดับกว้างกว่า เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุสาหกรรม ควรเป็นผลสืบเนื่องต่อไป