งานวิจัย การพัฒนารูปแบบผ้าย้อมครามสำหรับคนรุ่นใหม่


การพัฒนารูปแบบผ้าย้อมครามสำหรับคนรุ่นใหม่

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบผ้าย้อมครามสา หรับคนรุ่นใหม่ มีจุดประสงค์ 3 ประเด็น คือ (1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบผ้าย้อมครามของคนรุ่นใหม่ (2) เพื่อสร้างผ้าและผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตามความต้องการของคนรุ่นใหม่ (3) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความต้องการรูปแบบผ้าและจัดแสดงผ้า ตัวอย่างที่สร้างจากข้อมูลความต้องการของคนรุ่นใหม่ ดา เนินกิจกรรมวิจัย 4 ลา ดับ คือ (1) รวบรวม ข้อมูลความต้องการรูปแบบผ้าย้อมครามของคนรุ่นใหม่ โดยสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ (2) จัด เสวนา ออกแบบผ้า และสร้างผ้าตัวอย่าง (3) วิพากษ์ผืนผ้าตัวอย่าง ออกแบบ และสร้างผลิตภัณฑ์ (4) แสดงผลิตภัณฑ์ต่อสาธารณะและเก็บข้อมูลความพึงพอใจในผืนผ้าและผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัย พบว่า คนรุ่นใหม่ วัย 20-50 ปี ส่วนใหญ่ต้องการผ้าย้อมครามที่ใช้เส้นใยฝ้ าย ย้อมครามล้วน สีเข้ม เนื้อบาง สม่า เสมอ มีลายเล็ก ๆ กระจายบนผืนผ้า หลังจากใช้ข้อมูลนี้ร่วมกับประสบการณ์ของผู้ร่วมเสวนาที่ เกี่ยวข้องกับผ้าย้อมคราม ทั้งผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ใช้ ผู้ส่งเสริม และนักวิจัย ระดมความคิด ออกแบบผืนผ้า แล้ว ทอเป็นผืน ได้ผ้าทั้งหมด 7 ลาย 7 ผืน แล้วนักวิจัยร่วมกับผู้บริโภค ผู้ค้า และช่างตัดเย็บ วิพากษ์ผืนผ้า ออกแบบ และตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ได้ 10 ชิ้น นา เสนอต่อสาธารณะด้วยการเดินแบบ 2 ครั้งในงาน เทศกาลของจังหวัดสกลนคร และจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์พร้อมสัมภาษณ์เก็บข้อมูลความพึง พอใจผืนผ้าและผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดตามลา ดับดังนี้ ผลิตภัณฑ์ เสื้อลา ลองจากผ้าลายผาแดง -ไอ่คา ชุดสตรีลายกระบองเพชร และชุดสตรีลายหมี่ประยุกต์

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
เคมี
สาขาสังคมวิทยา
คราม
คราม , ผ้าย้อมคราม

เจ้าของผลงาน
อนุรัตน์ สายทอง
ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง,อำนาจ สุนาพรม

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อนุรัตน์ สายทอง ,ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง เเละ อำนาจ สุนาพรม . (2555). การพัฒนารูปแบบผ้าย้อมครามสำหรับคนรุ่นใหม่. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.