งานวิจัย การพัฒนาระบบผลิตไบโอชาร์จากกากคราม


การพัฒนาระบบผลิตไบโอชาร์จากกากคราม

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา และหาประเมินประสิทธิภาพของระบบผลิตไบโอชาร์จากกากครามโดยการน ากากครามที่เหลือจากการผลิตน้ าคราม จากชุมชน มาผ่านกระบวนการบด อัดเม็ดและเผาด้วยเตาความร้อนสูงระบบไพโรไลซิส (Pyrolysis) ที่ใช้เชื้อเพลิงจากแก๊ส lPG เมื่อผ่านกระบวนการจะได้ถ่านคราม ที่นำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆได้เช่น ถ่านดูดกิน ส่วนผสมเครื่องส าอาง โดยสถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของระบบผลิตไบโอชาร์จากกากคราม มีประสิทธิภาพด้านการอัดแท่งกาก คราม 1 กิโลกรัม ใช้เวลาเฉลี่ย 2 นาที 26 วินาที ประสิทธิภาพด้านความร้อนของเตา สามารถให้ความร้อนในการ เผา เฉลี่ย 752.63 องศาเซลเซียส และเวลาที่เหมาะสมส าหรับการเผาให้เป็นถ่าน คือ 35 นาที

ทุนวิจัยงบรายได้
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(แขนงวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์)
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
-
ไบโอชาร์,กากคราม, ชาร์โคลคราม

เจ้าของผลงาน
จุลศักดิ์ โยลัย
รณยุทธ์ นนท์พละ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิพงษ์ เหมะธุลิน

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
จุลศักดิ์ โยลัย ,รณยุทธ์ นนท์พละ เเละ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิพงษ์ เหมะธุลิน . (2564). การพัฒนาระบบผลิตไบโอชาร์จากกากคราม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
งานวิจัยเพิ่มเติม (เจ้าของผลงาน)

สถิติการเข้าชม