งานวิจัย กระบวนการผลิต "สบู่คราม" เพื่อเพิ่มมูลค่า


กระบวนการผลิต "สบู่คราม" เพื่อเพิ่มมูลค่า

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสบู่ครามจากน้ำครามของกลุ่มทอผ้าย้อมครามในเขตอำเภอพรรณานิคม และ2) ทดสอบคุณสมบัติของสบู่ที่ผลิตได้ โดยการส่งสบู่ไปทดสอบที่ศูนย์ MOST One Stop Service กรมวิทยาศาสตร์บริการ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตสบู่คราม สามารถแบ่งออกไปเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการผลิตน้ำคราม และขั้นตอนการผลิตสบู่คราม ซึ่งสบู่ครามที่ผลิตได้มีคุณสมบัติเบื้องต้นเป็นไปตามข้อกำหนดของสบู่ มีความปลอดภัย สามารถนำไปใช้ได้ ตามมาตรฐาน มอก.29-2545: สบู่ถูตัว โดยการผลิต 1 ครั้งได้สบู่ครามขนาด 100 กรัม จำนวน 12 ก้อน คิดเป็นต้นทุนก้อนละ 27.92 บาท สบู่ครามสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่าย ราคาไม่แพง วัตถุดิบหาซื้อได้ง่ายและมีจำนวนมาก อีกทั้งต้นทุนในการผลิตต่อก้อนไม่สูงมากถ้าขายในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาขายสบู่กลีเซอรีนในท้องตลาด (ประมาณ 50 บาท) ก็ยังมีกำไร 22.08 บาท คิดเป็นกำไรร้อยละ 44.16

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาการจัดการ
เทคโนโลยีการเกษตร
-
-
กระบวนการผลิต, สบู่คราม, การเพิ่มมูลค่า

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.ปิยะจินต์ ปัทมดิลก
ผศ.ดร.ยุพิน สมคำพี่,นางสาววิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.ปิยะจินต์ ปัทมดิลก ,ผศ.ดร.ยุพิน สมคำพี่ เเละ นางสาววิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . (2563). กระบวนการผลิต "สบู่คราม" เพื่อเพิ่มมูลค่า. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.