งานวิจัย การเพิ่มจํานวนโครโมโซม “ครามงอ” (Indigofera suffruticosa) โดยใช้การใช้ โคลชิซิน เพื่อการสนับสนุนภูมิปัญญาของจังหวัดสกลนคร


การเพิ่มจํานวนโครโมโซม “ครามงอ” (Indigofera suffruticosa) โดยใช้การใช้ โคลชิซิน เพื่อการสนับสนุนภูมิปัญญาของจังหวัดสกลนคร

จากการศึกษาการเกิดโพลีพลอยด์ในเมล็ดครามงองอกโดยการชักนําด้วยสารละลายโคล ชิซินในความเข้มข้นต่าง ๆ (0.0, 0.1, 0.2 และ0.4 เปอร์เซ็นต์) เป็นเวลาต่าง ๆ (0, 6 และ 12 ชั่วโมง) พบว่า ความเข้มข้น ของโคลชิซินในแต่ละระดับทําให้ลักษณะความงอก ความสูง และ จํานวนใบ ของต้นกล้าครามงอมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญยิ่ง ส่วนเวลาที่ได้รับโคลชิซินแต่ละ ระดับไม่ทําให้ความงอก ความสูง และจํานวนใบของต้นกล้าครามงอแตกต่างทางสถิติ นอกจากนี้ยัง พบว่า มีปฺฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้น และเวลาของการได้รับโคลชิซินของครามงอด้วย จากการศึกษา พบว่า ต้นกล้าครามที่ได้รับโคลชิซินมีความแตกต่างกัน 2 ลักษณะจําแนกได้ เป็นต้นกล้าปกติ และต้นกล้าผิดปกติ โดยต้นกล้าครามผิดปกติเกิดขึ้นในทรีตเมนต์ที่ได้รับโคลชิซิน (0.1, 0.2 และ0.4 เปอร์เซ็นต์) ที่ระดับเวลา 6 และ 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม พบว่า ทรีตเมนต์ที่พบ ต้นกล้าผิดปกติมากที่สุดที่ ทรีตเมนต์ T4 (0.1, 12) และ T7 (0.4, 6) (65.69 และ67.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ) และเมื่อตรวจสอบต้นกล้าผิดปกติ พบว่าสามารถจําแนกเป็น 3 ประเภท คือ ดิพพลอยด์ มิกโซพลอยด์ และเตตราพลอยด์ โดยทรีตเมนต์ ที่ปรากฏต้นกล้าผิดปกติมากมีจํานวน 2 ทรีตเมนต์ คือ T4 และT7 จากการตรวจสอบด้วยเทคนิคโฟลโตมิตริ พบว่า T4 มีความเป็นโพลีพลอยด์ (มิกโซ พลอยด์ และเตตราพลอยด์) 90.61 เปอร์เซ็นต์ และT7 มีความเป็นโพลีพลอยด์ (มิกโซพลอยด์ และ เตตราพลอยด์) 93.33 เปอร์เซ็นต์ ทั้งสองทรีตเมนต์มีความเป็นเตตราพลอยด์ใกล้เคียงกัน (27.27 และ33.33 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ) อย่างไรก็ตาม พบว่า T6 (0.2, 12) มีต้นครามเตตราพลอยด์สูง ที่สุด (50 เปอร์เซ็นต์) เมื่อตรวจสอบความแตกต่างของต้นครามที่เป็นดิพพลอยด์ มิกโซพลอยด์ และเตเตรา พลอยด์ พบว่า มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ลักษณะ ได้แก่ ความสูง จํานวนกิ่ง จํานวนใบประกอบ ดัชนีใบ จํานวนใบย่อย/ใบ และพื้นที่ใบ โดยลักษณะใบของดิพพลอยด์ และเตตราพลอยด์มีความ แตกต่างกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะของครามมีหลายลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน ทางบวก และหลายลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันทางลบ

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
คราม
Kram ngo, Indigofera suffruticosa, polyploid, colchicine, ครามงอ

เจ้าของผลงาน
สุนทรีย์ สุรศร
ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สุนทรีย์ สุรศร เเละ ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช . (2559). การเพิ่มจํานวนโครโมโซม “ครามงอ” (Indigofera suffruticosa) โดยใช้การใช้ โคลชิซิน เพื่อการสนับสนุนภูมิปัญญาของจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.