งานวิจัย ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม


ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม

การศึกษาครามและผลิตภัณฑ์คราม มีจุดประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมพันธุ์คราม และคัดเลือก พันธุ์ครามที่ให้ผลผลิตใบคราม และปริมาณสีครามมาก (2) เพื่อรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะพืชอื่น ที่ให้สีคราม และเปรียบเทียบปริมาณสีครามกับต้นคราม (3) เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้ายอ้มคราม (4) เพื่อสร้างมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้ายอ้มครามจังหวัด สกลนครและ (5) เพื่อสร้างระบบและให้บริการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้ายอ้มครามสู่มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มทอผ้ายอ้มครามในกลุ่มจังหวัดสนุก 4 จังหวัด ผลการศึกษาพันธุ์ครามในกลุ่มจังหวัดสนุก พบว่ามี 2 ลักษณะที่แตกต่างคือ ชนิดฝักตรงและฝักโค้งงอ เป็นไม้พุ่มสูง 102.74 - 109.15 เซนติเมตร ใบประกอบขนนก มีใบย่อย 3-21 ใบ ออกดอกเป็นช่อกระจะ สีเหลือง อมส้ม เมล็ดเล็กกลม 4-12 เมล็ดต่อฝัก ผลผลิตใบสดมากที่สุด 2,208 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ ปริมาณสีครามสูงสุด 0.1090 กรัมต่อ 100 กรัมใบสด นอกจากนี้ยังมีครามเถาหรือเปิก ที่ให้สีคราม 0.0254 กรัมต่อ 100 กรัมใบสด ผลการดา เนินการพัฒนาเทคนิคการทอผ้าและการแปรรูปที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ผ้าคราม พบว่า กิจกรรมที่ 1 ได้ฟืมขนาดหน้ากว้าง 30 เซนติเมตร และ 100 เซนติเมตร จำนวน 4 คู่ แต่ละคู่ ให้ลายเดียวกัน ทอผ้ายอ้มครามได้ 6 ชิ้น จากฟืม 4 ตะกอ 2 ชิ้น ฟืม 4 ตะกอ 2 เอื้อ 1 ชิ้น ฟืม 5 ตะกอเอื้อเดียว 1 ชิ้น ฟืม 6 ตะกอ ขิดลูกโซ่อีก 2 ชิ้น ผ้าพันคอ หน้ากว้าง 30 เซนติเมตร จากฟืม 5 ตะกอเอื้อเดียว ได้รับความสนใจมากที่สุด ได้รับการสั่งซื้อทันทีและต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 2 ไดล้ายบน กระดาษกราฟ 34 ลาย ได้รับเลือกมัดหมี่ทอเป็นผืนผ้าตัวอย่าง 6 ลายๆละ 2 เมตร เป็นผ้าลายแปลก เหมาะสำหรับตกแต่งมากกว่านุ่งห่ม กิจกรรมที่ 3 ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นแบบ 20 ชิ้น จากผ้ายอ้มคราม สีอ่อน – แก่ แต่ใช้อบรมปฏิบัติการเพียง 2 ชิ้น และได้รับการสั่งซื้อทันที 1 ชิ้น ผลการสร้างระบบตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจังหวัดสกลนคร พบว่า ผู้แทนจากทุกหน่วยงาน มีความเห็นตรงกันถึงความจา เป็นในการสร้างมาตรฐานผ้ายอ้มคราม แต่ไม่จา เป็นต้องเร่งด่วน เน้นการ พัฒนาคุณภาพคน นา ไปสู่การพัฒนาคุณภาพผ้า ให้ชุมชนเป็นผู้ควบคุม เฝ้าระวัง และสืบทอด อีกทั้ง สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในบทบาทสินค้าชุมชน โดยผู้ผลิตยอมรับมาตรฐานร่วมกัน ดังนี้ 1. ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ทั้งสีคราม เส้นใย และน้ำขี้เถ้า 2. ย้อมด้วยการหมักเนื้อครามในน้ำขี้เถ้าตามวีถีของภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ใช้เครื่องมือทอผ้าพื้นบ้าน พัฒนาด้วยเทคโนโลยีพื้นบ้าน 4. ผ้าทุกผืนมีเอกลักษณ์ มีเรื่องราว 5. รักษาจิตวิญญาณของผู้ผลิตและชุมชน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สามัคคี และเอื้อเฟื้อกัน

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
คราม
คราม, ผลิตภัณฑ์คราม, พันธุ์คราม

เจ้าของผลงาน
อนุรัตน์ สายทอง
สุรชาติ เทียนกล่ำ,อำนาจ สุนาพรม,ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง,สุดกมล ลาโสภา,อังคณา เทียนกล่ำ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อนุรัตน์ สายทอง ,สุรชาติ เทียนกล่ำ,อำนาจ สุนาพรม,ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง,สุดกมล ลาโสภา เเละ อังคณา เทียนกล่ำ . (2554). ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.