งานวิจัย การพัฒนาต้นแบบเซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสงอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็งโดยไม่ต้องใช้ clean room


การพัฒนาต้นแบบเซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสงอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็งโดยไม่ต้องใช้ clean room

เซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสงอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็ง สามารถเตรียมได้โดยการ เติมเกลือโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) และไอโอดีน (I2) ผสมในอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็ง ซึ่งประกอบไปด้วย 1,2,4,5–tetrakisbromomethylbenzene (TB) –butyrolactone (GBL) propylene carbonate (PC) 1-methyl-3-propylimidazodium iodide (MPI) poly(styrene- co-acrylonitril) (P(S-A)) และ ethylene carbonate (EC) คือ ตัวอย่าง 1,2,3 และ 4 จนเป็น เจล เกลือโพแทสเซียมไอโอไดด์ละลายได้ดีในอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็ง ผลจากการการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการผันพลังงานแสงเป็นไฟฟ้า ภายใต้แสงตกกระทบ 80 mW/cm2 คือ 2.49 %, 2.56 %, 2.16 % และ 2.18 % ตามลำดับ การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์สีย้อม ไวแสงด้วยอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็ง มีเสถียรภาพดีกว่าเซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสงด้วยอิเล็ก โตรไลท์ของเหลวเมื่อเวลาเปลี่ยนไปมากขึ้น

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
พลังงานทดแทน
อิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็ง, เซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสง , ประสิทธิภาพการผันพลังงานแสงเป็นไฟฟ้า, ไททาเนียมไดออกไซด์

เจ้าของผลงาน
สุรศักดิ์ แสนทวีสุข
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สุรศักดิ์ แสนทวีสุข . (2559). การพัฒนาต้นแบบเซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสงอิเล็กโตรไลท์สถานะของแข็งโดยไม่ต้องใช้ clean room. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.