งานวิจัย การใช้เซลล์แสงอาทิตย์กับเครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. สำหรับบ่อเลี้ยงปลา


การใช้เซลล์แสงอาทิตย์กับเครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. สำหรับบ่อเลี้ยงปลา

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเติมอากาศด้วยเครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. ด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อหาความเหมาะสมระหว่างขนาดบ่อเลี้ยงปลา ขนาดเครื่องกลเติมอากาศ และขนาดของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อศึกษาความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ ของการเลี้ยงปลานิลในบ่อซีเมนต์แบบพัฒนาด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงปลานิลแบบพัฒนาด้วยไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์กับการเลี้ยงปลานิลแบบกึ่งพัฒนาที่ไม่มีการเติมอากาศในบ่อเลี้ยงปลา โดยการวิจัยครั้งนี้มีการสร้างและออกแบบบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลานิล ขนาดพื้นที่ 36 ตารางเมตร น้ำลึก 1 เมตร ปล่อยปลานิลแปลงเพศ ขนาด 2.0 เซนติเมตรจำนวน 1,000 ตัว/บ่อ แล้วทดลองเลี้ยงด้วยอาหารเสริมปลากินเนื้อ (อาหารปลาดุก) ชนิดเม็ดลอยน้ำ เติมอากาศด้วยเครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. ด้วยไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์ ขนาด 400 วัตต์ โดยทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพ วันละ 1 ครั้ง ตลอด 123 วัน จากการวิจัย พบว่า คุณภาพของน้ำทางกายภาพในบ่อเลี้ยงปลา บ่อที่ 1 เป็นบ่อที่มีกังหันเติมอากาศ และบ่อที่ 2 ไม่มีกังหันเติมอากาศ ปริมาณ DO (ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 6.70 มิลลิกรัม/ลิตร บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.98 มิลลิกรัม/ลิตร pH (ความเป็นกรด – ด่าง) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.45 บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.58 ความขุ่น (Turbidity) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.56 NTU บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.69 NTU และการนำไฟฟ้า (Conductivity) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.53.02 s/cm บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 346.51 s/cm และอัตราการแลกเนื้อบ่อที่ 1 อัตราการรอดของปลาคิดเป็นร้อยละ 99.2 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจาก 1.5 กิโลกรัมเป็น 12.20 กิโลกรัม และบ่อที่ 2 อัตราการรอดของปลาคิดเป็นร้อยละ 95.8 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจาก 1.5 กิโลกรัม เป็น 8.20 กิโลกรัม และค่าความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ซึ่งตรวจวัดด้วยเครื่อง Vantage Pro 2 มีค่าอยู่ระหว่าง 615 – 740 วัตต์/ตารางเมตร และจากการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง มีค่าเท่ากับ 12 โวลต์

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
พลังงานทดแทน
บ่อเลี้ยงปลา - เครื่องกลเติมอากาศ - เครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. - ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

เจ้าของผลงาน
สุรศักดิ์ แสนทวีสุข
วิชชุดา ภาโสม,นิกร สุขปรุง

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สุรศักดิ์ แสนทวีสุข ,วิชชุดา ภาโสม เเละ นิกร สุขปรุง . (2558). การใช้เซลล์แสงอาทิตย์กับเครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. สำหรับบ่อเลี้ยงปลา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.