งานวิจัย การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร


การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการทดลองใช้พลังงานจากกังหันลม พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์และแก๊สชีวภาพในกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีทางการเกษตร และเพื่อศึกษาความเหมาะสมในการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์กับเครื่องกลเติมอากาศ แบบ ศทม. (ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม) และเพื่อศึกษาความเหมาะสมในการใช้พลังงานลมเพื่อเติมอากาศในบ่อเลี้ยงกุ้งในสภาพกำลังลมของจังหวัดสกลนคร พบว่า คุณภาพของน้ำทางกายภาพในบ่อเลี้ยงปลา บ่อที่ 1 เป็นบ่อที่มีกังหันเติมอากาศ และบ่อที่ 2 ไม่มีกังหันเติมอากาศ ปริมาณ DO (ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 6.70 มิลลิกรัม/ลิตร บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.98 มิลลิกรัม/ลิตร pH (ความเป็นกรด – ด่าง) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.45 บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.58 ความขุ่น (Turbidity) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.56 NTU บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.69 NTU และการนำไฟฟ้า (Conductivity) บ่อที่ 1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.53.02 s/cm บ่อที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 346.51 s/cm และอัตราการแลกเนื้อบ่อที่ 1 อัตราการรอดของปลาคิดเป็นร้อยละ 99.2 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจาก 1.5 กิโลกรัมเป็น 12.20 กิโลกรัม และบ่อที่ 2 อัตราการรอดของปลาคิดเป็นร้อยละ 95.8 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจาก 1.5 กิโลกรัม เป็น 8.20 กิโลกรัม และค่าความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ซึ่งตรวจวัดด้วยเครื่อง Vantage Pro 2 มีค่าอยู่ระหว่าง 615 – 740 วัตต์/ตารางเมตร และจากการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง มีค่าเท่ากับ 12 โวลต์ และจากการศึกษาความเหมาะสมในการใช้พลังงานลมเพื่อเติมอากาศในบ่อเลี้ยงกุ้งในสภาพกำลังลมของ จังหวัดสกลนคร พบว่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ บ่อที่มีกังหันลมเติมอากาศจะมีค่าเฉลี่ย 3.500769 mg/l และปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำบ่อที่ไม่มีกังหันลมเติมอากาศจะมีค่าเฉลี่ย 2.695385 mg/l และจากการเปรียบเทียบความคุ้มทุนเชิงพาณิช จำนวนกุ้งที่ปล่อยในบ่อทั้ง 2 บ่อ จะมีน้ำหนักตัวและจำนวนตัวเท่ากัน พบว่าอัตราการรอดตายของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อที่มีกังหันเติมอากาศร้อยละ 80 มีอัตราการแลกเนื้อเพิ่มขึ้น 6.1 กิโลกรัม และอัตราการรอดตายของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อที่ไม่มีกังหันเติมอากาศร้อยละ 51 มีอัตราการแลกเนื้อลดลงจากเดิม 2.7 กิโลกรัม และความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วลมและกระแสไฟฟ้า พบว่าถ้าความเร็วลมมีค่าเพิ่มขึ้นค่าของกระแสไฟฟ้าก็จะแปรตามค่าความเร็วลมเสมอ

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
พลังงานทดแทน
ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม, เครื่องกลเติมอากาศ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม

เจ้าของผลงาน
สุรศักดิ์ แสนทวีสุข
แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ,วิชชุดา ภาโสม ,อุปถัมภ์ โพธิกนิษฐ์,นิกร สุขปรุง

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สุรศักดิ์ แสนทวีสุข ,แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ,วิชชุดา ภาโสม ,อุปถัมภ์ โพธิกนิษฐ์ เเละ นิกร สุขปรุง . (2558). การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.