งานวิจัย การพัฒนานวัตกรรมการผลิตเส้นใยเป้ด ฝ้ายตะหลุง เพื่อเพิ่มรายได้ กรณีศึกษา กลุ่มสตรีบ้านเหล่าป่าเป้ด ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร


การพัฒนานวัตกรรมการผลิตเส้นใยเป้ด ฝ้ายตะหลุง เพื่อเพิ่มรายได้ กรณีศึกษา กลุ่มสตรีบ้านเหล่าป่าเป้ด ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการผลิตเส้นใยเป้ดฝ้ายตะหลุง เพื่อพัฒนารายได้ กรณีศึกษา กลุ่มสตรีบ้านเหล่าป่าเป้ด ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์ประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์กลุ่มสตรีบ้านเหล่าป่าเป้ด 2) เพื่อศึกษากระบวนการการปลูกและผลิตเส้นเป้ด ฝ้ายตะหลุง 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการผลิตเส้นใยเป้ดและฝ้ายตะหลุง เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต้นแบบเอกลักษณ์เฉพาะ โดยใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่องท้องถิ่น (Community Base Research : CBR) ทำการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณเชิงคุณภาพ แล้วสรุปภาพรวมด้วยการพรรณนา เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสะมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การจัดการเวทีประชาคม การเดินสำรวจทำแผนที่เดินดิน การสังเกตุแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า บริบทชุมชนบ้านเหล่าป่าเป้ด เป็นหมู่บ้านชาติพันธ์ภูไท ที่มีภูล้อมรอบ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ทำให้เหมาะกับการปลูกพืชไร่ พืชสวนตามแนวเชิงภูถ้ำพระ ภูหัวลิง ชาวบ้านเข้าไปทำสวนยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง มีพืชชนิดหนึ่งคือ ชาวบ้านเรียก “ต้นเครือเป้ด” ที่เกิดมาตามเชิงภูเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ฤดูฝนจะมีต้นเครือเป้ดขึ้น เลื้อยพันตามต้นไม้พุ่มเตี้ย ต้นเครือเป้ดเป็นพืชตระกูลถั่ว มีความเหนียวมาก กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านเหล่าป่าเป้ดนำมาทำเป็นเส้นใยด้วยวิธีภูมิปัญญา แล้วนำไปทอกับฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง ผลิตออกมาเป็นผืนผ้า แล้วนำไปตัดชุดเสื้อสตรี และถักเส้นใยเป้ดเป็นกระเป๋าสะพายขนาดเล็ก ได้ราคาดีมาก หากแต่มีปัญหาคือ ผลิตภัณฑ์เส้นใยเป้ดทำยากและใช้เวลา ประกอบกับต้นเครือเป้ดกำลังถูกตัดถางทิ้ง ด้วยคนในหมู่บ้านไม่ทราบว่ามีประโยชน์อย่างไร งานวิจัยครั้งนี้ 1) ทำให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดการนำต้นเครือเป้ด มาทำประโยชน์ต่อ เพื่อเพิ่มรายได้ 2) ต่อยอดการสืบทอดด้วยการพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนนาโสกวิทยาคาร 3) การต่อยอดการนำผลการวิจัยเสนอต่อเทศบาลตำบลนาโสก ผลักดันการพัฒนากลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านเหล่าป่าเป้ด เข้าไปในแผนงบประมาณปี 2563 ของฝ่ายงานพัฒนาชุมชน 4) เกิดการพัฒนาการออกแบบเสื้อผ้าสตรี วัยทำงาน วัยรุ่น จากผ้าทอมือ เส้นใยเป้ด ฝ้ายตะหลุง เป็นดีไซน์ใหม่ ที่จะถูกใจกลุ่มวัยดังกล่าว และเสื้อเย็บปักมือลวดลายใหม่ เป็นคอลเลกชั่นใหม่ ที่จะนำไปขายในงาน OTOP ปลายปี 2563 พร้อม Tag ที่มีเรื่องราวของต้นเครือเป้ด ฝ้ายตะหลุง จะนำออกจำหน่ายปลายปี 2563 คาดว่าจะเป็นการสร้างรายได้เพิ่มสำหรับกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านเหล่าป่าเป้ด ได้แน่นอน

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
การพัฒนาชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
มนุษยศาสตร์
-

เจ้าของผลงาน
ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง
กฤษณ์ พิเนตรเสถียร, อุทุมพร หลอดโค, ศุภกร อาจหาญ, วิชัย พรหมนาก, นินนท์ สุวรรณพันธ์, ใบ นาโสก, อานนท์ สินศร, ไพรวัลย์ จันศรี, สะวัน นาโสก, ถัน นาโสก, สวรรค์ นาโสก, ไพศาล สุวรรณพันธ์, ศรีคำ พลชนะ, มหา นาโสก, โสภา นาโสก

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง ,กฤษณ์ พิเนตรเสถียร, อุทุมพร หลอดโค, ศุภกร อาจหาญ, วิชัย พรหมนาก, นินนท์ สุวรรณพันธ์, ใบ นาโสก, อานนท์ สินศร, ไพรวัลย์ จันศรี, สะวัน นาโสก, ถัน นาโสก, สวรรค์ นาโสก, ไพศาล สุวรรณพันธ์, ศรีคำ พลชนะ, มหา นาโสก เเละ โสภา นาโสก . (2563). การพัฒนานวัตกรรมการผลิตเส้นใยเป้ด ฝ้ายตะหลุง เพื่อเพิ่มรายได้ กรณีศึกษา กลุ่มสตรีบ้านเหล่าป่าเป้ด ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. มุกดาหาร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเพิ่มเติม (เจ้าของผลงาน)

สถิติการเข้าชม