งานวิจัย การออกแบบและสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม


การออกแบบและสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม

การศึกษาวิจัยด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม สำหรับหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย มีอยู่จำนวนน้อยเนื่องจากเป็นเครื่องมือมีราคาสูง แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาวิจัยวิธีการสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอมด้วยวัสดุและอุปกรณ์แบบใหม่ที่มีราคาถูกกว่ามาก ดังนั้นการวิจัยเพื่อสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอมด้วยวิธีการแบบใหม่อุปกรณ์ใหม่จึงมีความจำเป็น หากงานวิจัยนี้ ประสบผลสำเร็จและเผยแพร่ไปในวงกว้าง จะก่อให้เกิดวิธีการใหม่ เทคโนโลยี ใหม่ นวัตกรรมใหม่ด้านนาโนเทคโนโลยีเกิดขึ้นอีกมาก โครงการวิจัยนี้จึงมีแนวคิดต่อยอดองค์ความรู้การสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอมต้นทุนต่ำที่มีผู้วิจัยไว้ก่อนหน้านี้แล้วบนหลักการพื้นฐานสามประการคือ ประการที่หนึ่ง การนำเอาเทคโนโลยีของ หัวอ่าน/เขียน ของเครื่องเล่นซีดี/ดีวิดี นำมาใช้ทดแทนอุปกรณ์รับรู้การสั่นของคานที่มีปลายแหลม ซึ่งเป็นหลักการของกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม ประการที่สองคือการนำเอาลำโพงเพียโซอิเล็กทริกที่มีราคาถูกมาประดิษฐ์เป็นส่วนควบคุมการเคลื่อนที่ (Scanner) แทนระบบทั่วไปที่มีราคาสูง และประการสุดท้ายลดต้นทุนของระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DAQ) โดยการใช้ ซอฟท์แวร์ โอเพ่นซอร์ซ โดยทำการวิจัยร่วมกับบริษัทเอกชนในประเทศที่มีความพร้อม จากหลักการที่กล่าวมาจะทำให้ได้ ต้นแบบผลิตภัณฑ์กล้องจุลทรรศน์แรงอะตอมต้นทุนต่ำ (ไม่เกิน 100,000 บาท/ชุด) 1 ต้นแบบ ชุดฝึกประกอบกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอมต้นสำหรับฝึกให้กลุ่มเป้าหมาย 2 ชุด หนังสือคู่มือการสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม 500 เล่ม ทะเบียนสิ่งประดิษฐ์ไทย 1 รายการ สิทธิบัตรการประดิษฐ์/สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทย 1 รายการ และบทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารที่มีฐานข้อมูลของ ISI/SJR/SCOPUS 2 เรื่อง

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
สถาบันวิจัยและพัฒนา
-
-
พลังงานทดแทน
กล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม, บัซเซอร์เพียโซอิเล็กทริก, หัวอ่านซีดี/ดีวิดี

เจ้าของผลงาน
ธีรวุฒิ สำเภา
วัสยษฏิ์ อนันต์ปรีชากร

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ธีรวุฒิ สำเภา เเละ วัสยษฏิ์ อนันต์ปรีชากร . (2562). การออกแบบและสร้างกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.