งานวิจัย การปรับปรุงสมบัติของตัวดูดซับโลหะหนักด้วยวัสดุในท้องถิ่น


การปรับปรุงสมบัติของตัวดูดซับโลหะหนักด้วยวัสดุในท้องถิ่น

การศึกษาประสิทธิภาพของตัวดูดซับจากขี้เลื่อยไม้จามจุรี กะลามะพร้าวและซัง ข้าวโพด ในการกา จัดโลหะหนักเหล็กและตะกั่ว วัสดุจะถูกกระตุ้นด้วย โซเดียมคลอไรด์ แล้วนำ ไปเผำที่ อุณหภูมิ 400-900 องศำเซลเซียส เป็นเวลำ 2 ชั่วโมง บดและคัดขนาด อนุภาค 0.840-0.500 มิลลิเมตร(20-40เมซ) จากนั้นนา ไปวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศ์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) เครื่องเอกซเรย์ดิฟแฟกชัน (XRD) หาค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิว และ ทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับ จากผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เหมาะสม ในการเตรียม ตัว ดูดซับ มากที่สุด เนื่องจากให้ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ของขี้เลื่อยไม้จามจุรี กะลามะพร้าวและ ซังข้าวโพดเท่ากับ 1236.46 921.15 และ 932.75 มิลลิกรัมต่อกรัม สูงสุด ตามลา ดับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ผล SEM และ XRD แสดง โครงสร้างของตัวดูดซับ เป็นอ สัณฐาน ไอโซเทอมของ การดูดติดผิว มีความสอดคล้อง กับแบบฟรุนดลิซ จาก การทดสอบ ประสิทธิภาพการดูดซับพบว่า ประสิทธิภาพการดูดซับเหล็ก ของขี้เลื่อยไม้จามจุรี กะลามะพร้าว และซังข้าวโพด เท่ากับ 99.63 99.82 และ 99.77 ตามลา ดับ ประสิทธิภาพของการดูดซับตะกั่ว ของขี้เลื่อยไม้จามจุรี กะลามะพร้ าวและซังข้าวโพด มีประสิทธิภาพ ในการดูดซับ คิดเป็นร้อยละ 99.07 98.54 และ 99.19 ตามลา ดับ ประสิทธิภาพของตัวดูดซับแบบผสม ในการดูดซับเหล็กและ ตะกั่ว คิดเป็นร้อยละ 99.85 และ 99.39 ตามลา ดับอีกด้วย

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ
โลหะหนัก

เจ้าของผลงาน
กิตติชัย โสพันนา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
กิตติชัย โสพันนา . (2552). การปรับปรุงสมบัติของตัวดูดซับโลหะหนักด้วยวัสดุในท้องถิ่น. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.