การดูดซับโลหะหนักคอปเปอร์ (II) ไอออน, เหล็ก (III) ไอออน, และ โคเมียม (III) ไอออน จากของเสียในห้องปฏิบัติการทางเคมีโดยใช้ถ่านกัมมันต์จากกะลาเมล็ดกระบก
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับโลหะหนักคอปเปอร์ (II) ไอออน, เหล็ก (I) ไอออน, และโครเมียม (I!! ไอออน ด้วยถ่านกัมมันต์จากกิ่งไม้ยางพารา เปรียบเทียบ ประสิทธิภาพในการดูดชับโลหะหนักคอปเปอร์ (I) ไอออน, เหล็ก (I! ไอออน และโครเมียม (I!) ไอออน กับถ่านกัมมันต์ทางการค้า ผงถ่านกัมมันต์กิ่งไม้ยางพาราเตรียมโดยวิธีการกระตุ้นทางเคมี ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 300 กรัม ผสมกับผงถ่านวัตถุดิบที่ได้จากการเผาแบบคาร์บอไนซ์ 100 กรัม (อัตราส่วน 3 : 1 และเผากระตุ้นที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากการศึกษา พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์หาปริมาณการดูดซับโลหะหนักคอปเปอร์ (I) ไอออน คือ ปริมาณผงถ่านกัมมันต์ 0.3 กรัม ระยะเวลาในการดูดซับ 30 นาที สภาวะที่เหมาะสมของเหล็ก (II ไอออน คือ ปริมาณผงถ่านกัมมันต์ 0.01 กรัม ระยะเวลาในการดูดซับ 10 นาที และสภาวะที่เหมาะสม ของโครเมียม (แ!! ไอออน คือ ปริมาณผงถ่านกัมมันต์ 0.7 กรัม ระยะเวลาในการดูดซับ 30 นาที ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักคอปเปอร์(I) ไอออน เหล็ก (Il) ไอออน และ โครมียม (I!)ไอออน พบว่าถ่านกัมมันต์จากกิ่งไม้ยางพารา มีประสิทธิภาพในการดูดซับคอปเปอร์ (II) ไอออน สูงถึงร้อยละ 95.80 ประสิทธิภาพในการดูดซับเหล็ก (Il ไอออน ร้อยละ 68.22 และ ประสิทธิภาพในการดูดชับโครเมียม (II! ไอออน ร้อยละ 75.92 เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการ ดูดซับโลหะหนักด้วยถ่านกัมมันต์ทางการค้า พบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับคอปเปอร์ (II) ไอออน, เหล็ก (II) ไอออน และโครเมียม (II! ไอออน ร้อยละ 50.60 , 55.00 และ 57.92 ตามลำดับ เมื่อนำผง ถ่านกัมมันต์จากกิ่งไม้ยางพาราดูดชับของเสียสารเคมีจากห้องปฏิบัติการทางเคมี พบว่าผงถ่านกัมมันต์ จากกิ่งไม้ยางพาราสามารถดูดซับโลหะหนักทั้ง 3 ชนิด คิดเป็นร้อยละการดูดซับของเสียสารเคมี เท่ากับ 1 1.9 1, 94.71 และ 40.65 ตามลำดับ ในขณะที่ผงถ่านกัมมันต์ทางการค้ามีประสิทธิภาพการ ดูดซับโลหะหนักทั้ง 3 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 9.74, 92.14 และ 35.87 ตามลำดับ ดังนั้นจากผลการ เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดชับโลหะหนักคอปเปอร์ (Il! ไอออน, เหล็ก (I) ไอออน และ โครเมียม (แI! ไอออน พบว่าถ่านกัมมันต์จากกิ่งไม้ยางพารามีประสิทธิภาพในการดูดชับโลหะหนักทั้ง 3 ชนิด สูงกว่าถ่านกัมมันต์ทางการค้า ถ่นกัมมันต์จากกิ่งไม้ยางพาราจึงเป็นอีกห นึ่งทางเลือกที่จะ นำมาใช้ในการดูดชับโลหะหนักของเสียสารเคมี เพื่อลดการสะสมและการทำลายสิ่งแวดล้อม ในอนาคต