งานวิจัย กระถางเพาะชำชีวภาพ


กระถางเพาะชำชีวภาพ

ขุยมะพร้าว ฟางข้าว และผักตบชวา เป็นวัสดุในท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการทำกระถางเพาะชำชีวภาพ โดยใช้อัตราส่วนของวัสดุต่อกาวแป้งเปียกเป็น 1:2 1:3 และ 1:4 โดยน้ำหนัก จากนั้นทดสอบ ค่าความแข็งแรง ค่าการดูดซับน้ำ นอกจากนั้นยังทดสอบหาค่าปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อีกด้วย จากการศึกษาพบว่าที่อัตราส่วน 1:4 มีค่าความแข็งแรงมากที่สุด โดยที่ผักตบชวา ขุยมะพร้าว และฟางข้าว มีความแข็งแรงเท่ากับ 16.39 x 103 15.04 x 103 และ 3.56 x 103 N/m2 ตามลำดับ ส่วนค่าการดูดซับน้ำพบว่าที่อัตราส่วน 1:2 มีค่ามากที่สุด โดยที่ ขุยมะพร้าว ผักตบชวา และฟางข้าว โดยมีค่าการดูดซับน้ำเท่ากับ 75.60%, 72.33% และ 66.51% ตามลำดับ สำหรับค่าปริมาณไนโตรเจนที่มากที่สุดของ ขุยมะพร้าว ฟางข้าว และผักตบชวา คืออัตราส่วน 1:4 1:4 และ1:2 โดยมีค่าเท่ากับ 0.22% 0.21% และ 0.21% ตามลำดับ อัตราส่วนที่มีค่าปริมาณฟอสฟอรัสมากที่สุดของ ขุยมะพร้าว ฟางข้าว และผักตบชวา คืออัตราส่วน 1:2 1:3 และ 1:2 โดยมีค่าเท่ากับ 38.62 117.13 และ 103.74 mg/kg ตามลำดับ สำหรับอัตราส่วนที่มีค่าปริมาณโพแทสเซียมมากที่สุดของ ขุยมะพร้าว ฟางข้าว และผักตบชวา คืออัตราส่วน 1:2 1:4 และ 1:4 โดยมีค่าเท่ากับ 0.56 6.46 และ 6.39 mg/kg ตามลำดับ

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ
กระถางเพาะชำ , ชีวภาพ

เจ้าของผลงาน
กิตติชัย โสพันนา
วิชชุดา ภาโสม

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
กิตติชัย โสพันนา เเละ วิชชุดา ภาโสม . (2558). กระถางเพาะชำชีวภาพ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สถิติการเข้าชม