งานวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยโดยใช้ปั๊มน้ำเซลล์แสงอาทิตย์


การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยโดยใช้ปั๊มน้ำเซลล์แสงอาทิตย์

การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยโดยใช้ปั๊มน้ำเซลล์แสงอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ สร้างและศึกษาประสิทธิภาพเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยโดยใช้ปั๊มน้ำเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องกลเติมอากาศที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นทุ่นลอย ติดตั้งกังหันเติมอากาศจำนวน 1 ชุด ทำงานโดยสูบน้ำจากบ่อด้วยปั๊มเซลล์แสงอาทิตย์ แล้วปล่อยตกกระทบกับใบกังหันให้หยดน้ำแตกกระจาย ทำการวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำเทียบกับกำลังไฟฟ้าของปั๊มน้ำที่ใช้ ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำเปรียบเทียบระหว่างปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำควบคุมและปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำที่ได้จากทดสอบเพิ่มจาก 5.43 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็น 6.30 มิลลิกรัมต่อลิตร เพิ่มขึ้นถึง 0.87 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็น 16.10 % และบ่อมีปริมาตรของน้ำ 4,500 ลิตร อัตราการเพิ่มขึ้นของออกซิเจนที่ละลายน้ำคิดเป็น 3,915 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่ากำลังไฟฟ้าที่ปั๊มน้ำใช้เฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 338.04 วัตต์-ชั่วโมง และระบบสามารถเก็บสะสมพลังงานไว้ในแบตเตอร์รี่ได้ประมาณ 10.98 แอมป์-ชั่วโมง หรือ 263.52 วัตต์-ชั่วโมง ปั๊มน้ำจะสามารถทำงานในสภาวะที่ไม่มีแสงแดดได้ต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 4.48 ชั่วโมง และสามารถเพิ่มออกซิเจนที่ละลายน้ำได้อีก 2,923 มิลลิกรัมต่อลิตร รวมการเพิ่มออกซิเจนที่ละลายน้ำภายใน 1 วัน เท่ากับ 6,838 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นอัตราการเพิ่มออกซิเจนที่ละลายน้ำของเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยโดยใช้ปั๊มเซลล์แสงอาทิตย์มีค่าเท่ากับ 11.37 มิลลิกรัมกรัมต่อวัตต์

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
พลังงานทดแทน
เครื่องกลเติมอากาศ, เซลล์แสงอาทิตย์, ออกซิเจนที่ละลายน้ำ

เจ้าของผลงาน
แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ . (2558). การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยโดยใช้ปั๊มน้ำเซลล์แสงอาทิตย์. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.