งานวิจัย การประเมินสมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความอ่อนตัว ด้วยเครื่องประเมินและแนะน าการออกก าลังกายอัจฉริยะส าหรับ ประชาชนก่อนสูงวัย เทศบาลนครสกลนคร


การประเมินสมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความอ่อนตัว ด้วยเครื่องประเมินและแนะน าการออกก าลังกายอัจฉริยะส าหรับ ประชาชนก่อนสูงวัย เทศบาลนครสกลนคร

การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดข้อมูลคําแนะนําสําหรับการเพิ่ม สมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความอ่อนตัว 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพ เครื่องประเมินและแนะนําการออกกําลังกายอัจฉริยะสําหรับประชาชนก่อนสูงวัย เทศบาลนคร สกลนคร วิธีการดําเนินการวิจัย 2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนาชุดข้อมูลคําแนะนําสําหรับการออกกําลัง กายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความอ่อนตัว ตามผลการประเมินที่ได้ในแต่ละบุคคล ประเมินเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และประเมินโดยกลุ่มสมาชิกชมรมออกกําลังกายจํานวน 20 คน ระยะที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเครื่องประเมินสมรรถภาพอัจฉริยะ ประเมินค่าความ แม่นยําในห้องปฏิบัติการและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน นําไปทดสอบค่าความตรงเทียบกับ เครื่องมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพละ จํานวน 11 คน และนําไปทดสอบประสิทธิภาพกับ กลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 40 - 59 ปี เป็นสมาชิกชมรมออกกําลังกายในชุมชนเทศบาลนครสกลนคร จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามการรับรู้การออกกําลังกาย แบบ บันทึกผลการประเมินสมรรถภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อ คําถามและวัตถุประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence: IOC) ที่ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมานเปรียบเทียบกับเครื่อง มาตรฐาน และเการรับรู้ออกกําลังกายก่อนและหลัง ด้วยสถิติ pair T-test ผลการวิจัย 1) ชุดข้อมูลคําแนะนําการออกกําลังกายขนาด 5.5*8 นิ้ว แผ่นกระดาษสีเหลือง สําหรับแนะนําการเพิ่มสมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา แผ่นกระดาษสีฟ้าเป็นคําแนะนําเพิ่ม ความอ่อนตัว แต่ละชุดระบุผลตามเกณฑ์เพศและช่วงอายุ กําหนดระดับสมรรถภาพหมายเลข 1 เกณฑ์ดี หมายเลข 2 เกณฑ์ปานกลาง หมายเลข 3 เกณฑ์ต่ํา มีค่าความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index; CVI) ที่ 0.89 นวัตกรรมต้นแบบเครื่องประเมินสมรรถภาพ ตัวโครงสร้างทําจาก สแตนเลส ฐานเครื่องขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร ฐานเครื่องสูงจากพื้น 40 เซนติเมตร ตัวเครื่อง ด้านหน้าเป็นแผงสูงจากพื้น 10 เซนติเมตร พร้อมที่วางฝ่าเท้า เป็นแป้นตั้งขึ้น กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร ซึ่งติดเซนเซอร์โหลดเซลรับแรงได้ถึง 200 กิโลกรัม ส่วน ด้านบนมีแผ่นสําหรับวัดระยะความอ่อนตัว วางขนานกับพื้นกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ด้านบนมีจอแสดงข้อมูลแบบดิจิทัล 2 เครื่อง ทดสอบหาค่าความตรงเทียบกับเครื่องมือมาตรฐาน พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติประเมินประสิทธิภาพต้นแบบเครื่อง ประเมินและแนะนําการออกกําลังกายอัจฉริยะ กับกลุ่มตัวอย่างอายุ 40 – 59 ปี จํานวน 20 คน พบว่าหลังการทดสอบ การรับรู้การออกกําลังกายเพิ่มขึ้น แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( p- value=0.002) ความพึงพอใจต่อเครื่องประเมินและชุดคําแนะนําภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.90, S.D.=0.31) การพัฒนานวัตกรรมเครื่องประเมินและคําแนะนําอัจฉริยะ สามารถนํามาใช้ประเมิน สมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวได้กับทุกช่วงวัย เพื่อให้มีการใช้งานได้สอดคล้อง กับเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมสุขภาพด้านการประเมินควรเพิ่มระบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูล และ รายงานผลในรูปแบบเสียงหรือเชื่อมต่อกับมือถือได้

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
-
-
เครื่องประเมินสมรรถภาพ, ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา, ความอ่อนตัว, ชุดคําแนะนํา

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. ณีรนุช วรไธสง
ผศ.ดร. หรรษกร วรรธนะสาร, ผศ.วีระศักดิ์ เจริญรัตน์, รศ.วาสนา เกษมสินธ์, อาจารย์จุลศักดิ์ โยลัย, ผศ.อภิวัฒน์ ปานทอง, อาจารย์ ดร. ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. ณีรนุช วรไธสง ,ผศ.ดร. หรรษกร วรรธนะสาร, ผศ.วีระศักดิ์ เจริญรัตน์, รศ.วาสนา เกษมสินธ์, อาจารย์จุลศักดิ์ โยลัย, ผศ.อภิวัฒน์ ปานทอง เเละ อาจารย์ ดร. ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม . (2567). การประเมินสมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความอ่อนตัว ด้วยเครื่องประเมินและแนะน าการออกก าลังกายอัจฉริยะส าหรับ ประชาชนก่อนสูงวัย เทศบาลนครสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.