งานวิจัย นวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยาด้วยระบบเสียงเสมือนจริง


นวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยาด้วยระบบเสียงเสมือนจริง

การพัฒนานวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยาด้วยระบบเสียงเสมือนจริง เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยาด้วยระบบเสียงเสมือน จริง ประกอบด้วย 1) การออกแบบชุดเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ร่างกาย และ2) การสร้างแบบจำลอง กล้ามเนื้อทำจากชิลิโคน ประกอบเป็นกล้ามเนื้อต้นแขนและสะโพก สำหรับนำไปติดกับชุดเสื้อและ กางเกง ภายในแผ่นกล้ามเนื้อจำลองมีแผ่นผ้านำไฟฟ้า ทำหน้าที่เหมือนเซ็นเซอร์เข็มฉีดยาและมีถุง สำหรับเก็บสารละลาย การทดสอบประสิทธิภาพ โดยพยาบาลวิชาชีพ 5 คน และอาจารย์พยาบาล 2 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม ระยะที่ 2 เป็นการประเมิน ประสิทธิผลของนวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาธารณสุขชั้นปีที่ 2 เกณฑ์การ คัดเลือก คือ กลุ่มตัวอย่างที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการปฐมพยาบาล ในปีการศึกษา 2/2565 แบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยการสุ่มอย่างง่าย คือ กลุ่มทดลอง ปฏิบัติการฉีดยากับนวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยา ด้วยระบบเสียงเสมือนจริง กลุ่มเปรียบเทียบ ปฏิบัติการฉีดยากับหุ่นจำลองกล้ามเนื้อฉีดยาใน ห้องปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินทักษะปฏิบัติการฉีดยา และความพึงพอใจต่อ นวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired t-test ผลการวิจัย การพัฒนาชุดสวมใส่เป็นแบบเสื้อและกางเกง สวมติดกับร่างกาย สามารถ ปรับขนาดได้ ใช้วัสดุเป็นผ้าคอตตอน ตัดเย็บบริเวณแขน 2 ข้าง และสะโพก ให้มีช่องว่างสำหรับใส่ กล้ามเนื้อจำลอง ส่วนแบบจำลองกล้ามเนื้อฉีดยาเสมือนจริง วัสดุทำด้วยซิลิโคน รูปร่างกลม บริเวณ ฐานมีความยาว 15 เซนติเมตร ภายในใส่ผ้านำไฟฟ้า Layor 0 - 2 ที่ ลึกจากผิวหนัง 2.54 เชนติเมตร ขนาด 7.62 x 7.62 เชนติเมตร กำหนดพื้นที่ตรวจจับตำแหน่งเข็มฉีดยาบริเวณถูกต้องขนาด 5.08X5.08 เซนติเมตร ถัดจากแผ่นนำไฟฟ้าเป็นชั้นล่างสุด มีฟองนำสำหรับรองรับน้ำยา รวมมีความ หนา 6.35 เซนติเมตร และมีสายไฟเชื่อมต่อกับตัวเครื่องที่ออกแบบระบบเซนเซอร์เชื่อมต่อกับแผ่น ไฟฟ้าตรวจจับตำแหน่งเข็ม ส่งสัญญาณมาที่ตัวเครื่องประมวลผลเพื่อแจ้งเตือนด้วยเสียงถึงตำแหน่งที่ ฉีดถูกจุด/ไม่ถูกจุด ทดสอบระบบจำนวน 10 ครั้ง มีคำความตรงที่ 1.00 ระยะเวลาเสียงแจ้งเตือน เฉลี่ย 3.36 วินาที ผลการประเมินนวัตกรรม พบว่าระบบเสียงทำงานได้ตามโปรแกรม (X=4.86, ร.D. -0.38) ระบบมีความเที่ยงตรงการแจ้งเตือนตำแหน่งการฉีถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง ได้ตรงตามหลัก วิชาการ (สิ =4. 71, S.D. -0.48) และทำให้ผู้ฉีดเกิดความตระหนัก คำนึงถึงการให้บริการด้วยหัวใจความ เป็นมนุษย์ (X=4.71, S.D. -0.48) ผลการทดลองใช้ พบว่ากลุ่มทดลองที่ฝึกปฏิบัติการฉีดยาเข้า กล้ามเนื้อกับนวัตกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการฉีดยาสูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบที่ฝึกปฏิบัติฉดยา เข้ากล้ามเนื้อกับหุ่นจำลองในห้องปฏิบัติการ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการออกแบบช่วยเสริมสร้างกระบวนการ เรียนรู้ (X =4.94, S.D.-0.25) ส่วนค่าเฉลี่ยน้อย คือ การออกแบบสวมใส่ง่าย และพอดีกับผู้สวมใส่ (x=4.38,S.D.=0.79)

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาธารณสุขศาสตร์
-
-
กล้ามเนื้อฉีดยา, เสมือนจริง, ระบบเสียง

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. ณีรนุช วรไธสง
อาจารย์จุลศักดิ์ โยลัย, ดร. ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, ผศ. วีระศักดิ์ เจริญรัตน์, อาจารย์วิบูลย์สุข ตาลกุล

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. ณีรนุช วรไธสง ,อาจารย์จุลศักดิ์ โยลัย, ดร. ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, ผศ. วีระศักดิ์ เจริญรัตน์ เเละ อาจารย์วิบูลย์สุข ตาลกุล . (2566). นวัตกรรมกล้ามเนื้อฉีดยาด้วยระบบเสียงเสมือนจริง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.