งานวิจัย ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหารธรรมชาติ


ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหารธรรมชาติ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหารธรรมชาติ ในชุมชน บ้านนาอ่าง ตําบลนาตาล อําเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และแนวทางการสืบสานและ อนุรักษ์ภูปัญญาท้องถิ่นเรื่องอาหารธรรมชาติให้คงอยู่แก่เยาวชนรุ่นปัจจุบัน โดยเลือกใช้ระเบียบ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แนวคิดแนวคิดเกี่ยวกับนิเวศมนุษย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกลไกทาง สังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวทางสัมภาษณ์ แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทาง สังเกตการณ์ และการจดบันทึกภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากผู้นําชุมชน ผู้รู้ และชาวบ้าน ใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บ้านนาอ่าง ตําบลนาตาล อําเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เป็นหมู่บ้านที่ ยังคงมีวิถีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ ชาวบ้านยังคงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อาทิเช่น การหา อาหาร การจับสัตว์ การเพาะปลูก อาจเพราะพื้นที่หมู่บ้านติดกับเทือกเขาภูพานที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งอาหารธรรมชาติ และแหล่งน้ำ จึงทําใช้ชาวบ้านสร้างสมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ธรรมชาติเป็นองค์ความรู้ที่แฝงอยู่ในวิถีประจําวันของคนในชุมชนแห่งนี้ โดยชาวบ้านสามารถจําแนก การแบ่งบริบทพื้นที่ทางทรัพยากรธรรมชาติตามระบบวัฒนธรรมการผลิต การจําแนกตามลักษณะ ทางกายภาพของพื้นที่และการใช้ประโยชน์ การจําแนกตามลักษณะทางกายภาพของพืชและสัตว์ เป็นการจําแนกตามลักษณะเด่นของพืชและสัตว์ชนิดนั้นนํามาจัดหมวดหมู่ และจําแนกอาหารตาม ลักษณะภูมิอากาศ (ช่วงฤดู) เป็นต้น อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกถ่ายทอดทางด้านวิธีคิด ความเชื่อ เรื่องเล่า ตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ธรรมชาติ ที่มีการลดจํานวนลงของความหลากหลายทางระบบนิเวศจากพ่อแม่สู่ลูกหลาน ซึ่งกลไก ทางสังคมที่ทําหน้าที่ส่งผ่านองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ได้แก่ ครอบครัวและเครือญาติ วัฒนธรรมของ ชุมชน ที่ชาวบ้านใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องอาหารธรรมชาติ รวมถึงหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน ต่างๆ ได้ให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการสร้างกฎระเบียบเพื่อเป็น ข้อกําหนดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมในชุมชนบ้านนาอ่าง ภายใต้บริบทแวดล้อมที่มี การเปลี่ยนแปลงทําให้ชาวบ้านเกิดวิธีคิด และมีการปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศที่ยังคงเหลืออยู่ใน ปัจจุบัน

ทุนวิจัยงบรายได้
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
การพัฒนาชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และการค้า
-

เจ้าของผลงาน
อุทุมพร หลอดโค
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อุทุมพร หลอดโค . (2559). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหารธรรมชาติ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.