งานวิจัย การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดกระเจี๊ยบแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ


การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดกระเจี๊ยบแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdarifa Linn.) กับน้ำมันที่สกัดได้จากพืชชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วยน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน และน้ำมันมะพร้าว ผลการศึกษาพบว่าเมล็ดกระเจี๊ยบแดงมีค่าความชื้นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 3.66+0.04 w/w ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดกระเจี๊ยบแดงโดยใช้เทคนิคการสกัดแบบไหลเวียน (soxhlet extraction) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 21.10+0.53 w/w (%RSD = 2.49%) ในขณะที่วิธีการสกัดทางกายภาพด้วยวิธีการหีบสกัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.94+0.10 w/w (%RSD = 1.11%) องค์ประกอบของกรดไขมัน (fatty acid compositions) ของน้ำมันเมล็ดกระเจี๊ยบแดงประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (total saturated fatty acid compound) ร้อยละ 20.35 และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (total unsaturated fatty acid compound) ร้อยละ 79.65 ชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ cis-Oleic acid (C181) ร้อยละ 37.23, cis-Linoleic acid (C18:2) ร้อยละ 34.87, Palmitic acid (C16:0) ร้อยละ 16.81, Palmitoleic acid (C16:1) ร้อยละ 6.42, Stearic acid (C18*,) ร้อยละ 3.55, และ trans-Oleic acid (C18 1) ร้อยละ 1.12 ตามลำดับ จากองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันเมล็ดกระเจี๊ยบแดงที่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่สูงส่งผลให้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่โดดเด่น ได้แก่ค่าจุดขุ่นและค่าจุดไหลเทที่มีค่าต่ำกว่า 0 *C เช่นเดียวกันกับน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และน้ำมัน ดอกทานตะวัน นอกจากนี้ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของน้ำมันเมล็ดกระเจี๊ยบแดง พบว่ามีค่าความเป็นกรดสูงถึง 5.12 mg KOH/g of oil และปริมาณค่ากรดไขมันอิสระร้อยละ 2.48 w/w ซึ่งมีค่าสูงกว่าน้ำมันที่สกัดได้จากพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าความเป็นกรดน้อยกว่า 0.28 Ing KOH/g of oil และคำากรดไขมันอิสระน้อยกว่าร้อยละ 0.13 w/w จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าน้ำมัน เมล็ดกระเจี๊ยบแดงมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นสารวัตถุดิบตั้งต้นหรือส่วนผสมสำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น สบู่ ครีม โลชั่น และน้ำมันนวดสมุนไพร แต่ไม่เหมาะสมที่จะนำไปรับประทานเนื่องจากมีค่าความเป็นกรดและกรดไขมันอิสระที่สูง ดังนั้นจากผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันเมล็ดกระเจี๊ยบแดงในงานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งฐานข้อมูลที่สำคัญสำหรับการนำน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดกระเจี๊ยบแดงไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ( เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางเกษตรของชุมชน

ทุนวิจัยงบรายได้
สถาบันวิจัยและพัฒนา
-
-
-
คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพ, น้ำมันเมล็ดกระเจี๊ยบแดง, องค์ประกอบกรดไขมัน, ค่าความเป็นกรด, กรดไขมันอิสระ, ค่าจุดขุ่นและจุดไหลเท

เจ้าของผลงาน
นายสันติ ผิวผ่อง
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นายสันติ ผิวผ่อง . (2566). การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดกระเจี๊ยบแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นายสันติ ผิวผ่อง. (2566). การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดกระเจี๊ยบแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ. TRENDS IN SCIENCES 2023; 20(6) / the 14th Nafional Science Research Conference(20) , -.