การลดปริมาณไนเตรตในผักด้วยสารสกัดจากใบสะเดา
โครงการวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ การทดลองแบบการจำลองระบบนิเวศวิทยา ขนาดเล็ก (microcosm experiment) หรือการทดลองบ่ม (incubation experiment) และการ ทดลองโดยการทดสอบกับพืช (plant bioassay experiment) โดยได้ดำเนินทั้งสองการทดลองนี้ไป พร้อมกันภายใต้สภาพโรงเรือนทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของสารยับยั้งไนทริ ฟิกเคชัน (nitrification inhibitor) 5 ชนิด ต่อสถานะของไนโตรเจนอนินทรีย์ในดิน (soil inorganic N) ยูเรียไฮโดรไลซีส (urea hydrolysis) และไนทริฟิเคชัน (nitrification) ตลอดจนการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณ NO3 - ในเนื้อเยื่อของผัก ทั้งนี้เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่าการยับยั้งไนทริฟิเคชัน จะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราการใช้สารสกัดจากใบสะเดาซึ่งทำให้ผักมีการเจริญเติบโตและผลผลิตเพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณ NO3 - ในเนื้อเยื่อของผักลดลง ดังนั้น ทั้ง 2 การทดลองนี้มีกรรมวิธีทดลองเหมือนกัน คือ i) ไม่ใส่สารยับยั้ง (Control), ii) ไนตราไพริน และสารสกัดจากใบสะเดา 3 อัตรา โดยอ้างอิงกับ น้ำหนักแห้งของวัตถุดิบ คือ iii) 1 กรัม/กิโลกรัมของดิน (g kg-1 soil) ; iv) 2 g kg-1 soil; และ v) 4 g kg-1 soil การทดลองแบบการจำลองระบบนิเวศวิทยาขนาดเล็กหรือการทดลองแบบบ่ม สารสกัดจาก ใบสะเดาทุกอัตราทำให้ urea hydrolysis rate เพิ่มขึ้นในวันที่ 5-15 หลังการบ่ม แต่ในทางตรงกัน ข้าม ไนตราไพรินทำให้ urea hydrolysis ลดลงในวันที่ 5-10 โดยเปรียบเทียบกับ control สำหรับ nitrification พบว่าสารสกัดจากใบสะเดามีอิทธิพลทั้งการกระตุ้นและการยับยั้ง โดยการกระตุ้น เกิดขึ้นในวันที่ 3 ในขณะที่การยับยั้งเกิดขึ้นและให้ค่าสูงสุดในวันที่ 5-15 ส่วนไนตราไพรินมีอิทธิพลใน การยับยั้งในวันที่ 10-15 และมีค่าการยับยั้งมากที่สุดในวันที่ 15 และการเพิ่มอัตราของสารสกัดสะเดา ทำให้อิทธิพลในการกระตุ้นและการยับยั้งกระบวนการ urea hydrolysis และ nitrification เพิ่มขึ้น ผลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้ว สารสกัดจากใบสะเดามีความสามารถในการยับยั้งไนทริ ฟิเคชันที่เร็วกว่า รุนแรงกว่า และยาวนานกว่าไนตราไพริน การกระตุ้นไนทริฟิเคชันเกิดขึ้นใน ระยะแรกของการบ่ม ส่วนการยับยั้งเกิดขึ้นในระยะหลัง และอิทธิพลเหล่านี้มีมากขึ้นตามการเพิ่ม อัตราการใช้สารสกัดจากใบสะเดา ในการทดลองโดยทดสอบกับพืช โดยทั่วแล้ว สารสกัดจากใบสะเดาทำให้ความเข้มข้นของ มหธาตุในดินเพิ่มขึ้น นั่นคือ ฟอสฟอรัส (P) (47.6-55.8 mg kg-1 ), โพแทสเซียม (K) (45.8-62.7 mg kg-1 ), แคลเซียม (Ca) (129-164 mg kg-1 ), และแมกนีเซียม (Mg) (29.0-35.7 mg kg-1 ) เมื่อ เปรียบเทียบกับ control (50.6 mg P kg-1 , 35.3 mg K kg-1 , 123 mg Ca kg-1 , และ 24.8 mg Mg kg-1 ) สารสกัดจากใบสะเดาทำให้ความเข้มข้นของ NH4 + -N ในดิน (13.9-30.2 mg kg-1 ) และ nitrification inhibition (12.5-70.5%) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ลดความเข้มข้นของ NO3 - -N (6.4-13.2 mg kg-1 ), และอัตราไนทริฟิเคชันสุทธิ (net nitrification rate) (0.08-0.23 mg N kg-1 day-1 ) โดยเปรียบเทียบกับ control (6.6 mg NH4 + -N kg-1 , 14.7 mg NO3 - -N kg-1 , 0.26 mg N kg-1 day-1 , และ 0% nitrification inhibition) สารสกัดจากใบสะเดาทำให้น้ำหนักสดของส่วนเหนือดิน (13.5-43.1 g plant-1 ), น้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน (0.84-3.91 g plant-1 ), และน้ำหนักแห้งของ ราก (0.14-0.27 g plant-1 ) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ Control (52.3 g น้ำหนักสดของส่วนเหนือดิน plant-1 , 5.36 g น้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน plant-1 , 0.35 g น้ำหนักแห้งของราก plant-1 )