งานวิจัย การปรับปรุงผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักโดยการใช้มูลจิ้งหรีด ร่วมกับถ่านชีวภาพ


การปรับปรุงผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักโดยการใช้มูลจิ้งหรีด ร่วมกับถ่านชีวภาพ

การศึกษานี้ดําเนินการเพื่อประเมินอิทธิพลของอัตราการใช้ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากไม้ยูคาลิปตัสที่ใช้ร่วมกับมูลจิ้งหรีดต่อการเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนในดิน และการเจริญเติบโต ผลผลิต และ ปริมาณไนเตรตในคะน้า (Brassica oleracea) ใช้มูลจิ้งหรีดร่วมกับถ่านชีวภาพจํานวน 6 อัตรา คือ0, 0.125, 0.25, 0.5, 1, และ 2% โดยน้ําหนัก (w/w) โดยใส่ในดินเนื้อร่วนทรายเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มการทดลอง ทําการปลูกคะน้าสองครั้งต่อเนื่องกันเพื่อประเมินอิทธิพลตามเวลาของถ่านชีวภาพมวลชีวภาพส่วนเหนือดินของคะน้าเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับถ่านชีวภาพอัตรา 0.125 - 0.25% w/w ในการปลูกทั้งสองครั้ง แต่มวลชีวภาพส่วนเหนือดินลดลงเมื่อใช้ถ่านชีวภาพในอัตราที่สูงกว่า 0.25% w/wเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ใช้มูลจิ้งหรีดเพียงอย่างเดียว ปริมาณ NO3-ในเนื้อเยื่อคะน้าลดลงในทุกอัตราของถ่านชีวภาพในการปลูกครั้งแรก แต่เพิ่มขึ้นในการปลูกครั้งที่สอง เนื่องจากถ่านชีวภาพยับยั้งไนตริฟิเคชันในการปลูกครั้งแรก แต่เพิ่มอัตราไนตริฟิเคชันในการปลูกครั้งที่สอง อัตราของถ่านชีวภาพที่ผลิตจากไม้ยูคาลิปตัสที่แนะนําให้ใช้ร่วมกับมูลจิ้งหรีดเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณ NO3- ในคะน้าคือ 0.125% w/w

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
-
มูลจิ้งหรีด, ถ่านไม้ยูคาลิปตัส, การยับยั้งไนตริฟิเคชัน, การเปลี่ยนรูปของไนโตรเจน, ไนเตรตในพืชผัก

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.สมชาย บุตรนันท์
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.สมชาย บุตรนันท์ . (2564). การปรับปรุงผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักโดยการใช้มูลจิ้งหรีด ร่วมกับถ่านชีวภาพ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ผศ.ดร.สมชาย บุตรนันท์. (2564). การปรับปรุงผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักโดยการใช้มูลจิ้งหรีด ร่วมกับถ่านชีวภาพ. -(-) , -.