การพัฒนาพิโซอิเล็กเทรตแบบโค้งงอจากยางพาราสําหรับผลิตไฟฟ้า
การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้การนำวัสดุที่มีอยู่ใน ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ผันเป็นพลังงานทางเลือกจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดการพลังงานยุคใหม่ โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้านาโนได้ผลิตไฟฟ้าด้วยการผันพลังงานกลจากปรากฏการณ์พิโซอิเล็กทริก ปรากฎการณ์ไตรโบอิเล็กทริก และคุณสมบัติเฉพาะของยางพารา สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน ร่วมกันในการประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานกลได้แผ่นยางพาราถูกปรับเปลี่ยน ลักษณะเฉพาะทางโครงสร้างและสมบัติทางไฟฟ้าด้วยสารตัวเติมประเภทคาร์บอนแบล็คนำไฟฟ้า (Kb) และท่อนาโนคาร์บอนผนังหลายชั้น (CNT) โดยลักษณะทางจุลภาคแสดงให้เห็นว่าโซ่โมเลกุล ของยางพาราจะปกคลุม CNT และจับตัวกับอนุภาค Kb ทำให้แผ่นยางพาราแสดงสภาพความ ต้านทานไฟฟ้าลดต่ำลง ในขณะเดียวกันค่าคงที่ไดอิเล็กทริกมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณตัวเติม CNT ใน ส่วนของมอดูลผลิตไฟฟ้าไตรโบอิเล็กทริกร่วมกับแผ่นยางพารานำไฟฟ้า (CNRS-TENG) ถูกออกแบบ ในรูปของแผ่นยางพารานำไฟฟ้าโค้งงอ (CNRs) เป็นอิเล็กโทรดส่วนบน ส่วนล่าง และด้านข้างของ มอดูล โดยมีวัสดุโพลีเมอร์โพลีเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE) เป็นชั้นไดอิเล็กทริกเสริมประจุไฟฟ้าอยู่ แนบติดกับ CNRs ส่วนล่าง มอดูล CNRS-TENG ทำงานร่วมกับวงล้อกำเนิดไฟฟ้าแบบเลื่อนไสลด์ด้วย การใช้ชุดมอดูลจำนวนที่แตกต่างกัน โดยมีเฟส CNRs ส่วนบนเลื่อนไปสัมผัสกับส่วนเซกเมนต์มอดูล ส่วนล่าง สมรรถนะการผลิตไฟฟ้าของวงล้อกำเนิดไฟฟ้า CNRS-TENG มีความสัมพันธ์กับความเร็ว รอบในการหมุนและจำนวนเฟสและเซกเมนต์ที่เหมาะสม โดยความเร็วรอบจะสร้างแรงภายนอกใน การสัมผัสระหว่างวงล้อหมุน พื้นที่ในการสัมผัสของเฟสและเซกเมนต์จะช่วยเสริมกลไกการถ่ายเท ประจุ ในงานนี้แสดงให้เห็นว่า CNRs ไม่เพียงแต่มีสมบัติพิโซอิเล็กทริก อีกทั้งสามารถนำมา ประยุกต์ใช้เป็นแหล่งกำนเนิดไฟฟ้านาโนแบบเลื่อนสไลด์ได้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำ CNRs ไป ประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบอุปกรณ์รับรู้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบโค้งงอ รวมถึงทำงานร่วมกับ อุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานกลในรูปแบบอื่นได้