งานวิจัย การผลิตเม็ดดินปลูกด้วยวัสดุผสมจากตะกอนดินกับถ่านไบโอชาร์จากเหง้ามันสําปะหลัง เพื่อลดการทิ้งของเหลือจากการเกษตร


การผลิตเม็ดดินปลูกด้วยวัสดุผสมจากตะกอนดินกับถ่านไบโอชาร์จากเหง้ามันสําปะหลัง เพื่อลดการทิ้งของเหลือจากการเกษตร

ประเทศไทยมีการทําเกษตรกรรมเป็นจํานวนมากทั่วทุกภูมิภาค ปัญหาสําคัญประการหนึ่งคือเกษตรกรส่วนมากเลือกวิธีการกําจัดเศษวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรด้วยการเผาในที่โล่งแจ้งและก่อให้เกิดมลพิษเป็นบริเวณกว้างจากควันไฟ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยโดยรอบ ทางผู้วิจัยจึงต้องการบรรเทาปัญหานี้โดยการนําเศษวัสดุมาทําการเผาแบบไพโรไลสิสด์แบบเร็วโดยจะเกิดมีควันน้อยระหว่างเผา และได้ปริมาณถ่านมากกว่าการเผาแบบช้า ถ่าน และดินตะกอนน้ําประปาจะถูกนํามาเผาเพื่อทําความสะอาดที่อุณหภูมิที่ 900 องศาเซลเซีส หลังจาก ผ่านการเผาจะนําส่วนผสมทั้ง 2 อย่างมาบด และนําผงที่ได้ไปร่อนผ่านตระแกรงขนาด 50 120 325 เมท ผงที่ผ่านตระแกรงแล้วถึงจะถูกนํามาผสมกัน โดยมีสัดส่วนในการผสม(ดินตะกอนน้ําประปา:ถ่านไบโอชาร์) 90:10 50:5010:90 จากนั้นนําตัวอย่างที่ได้ไปเผาแบบไพโรไลสิสด์แบบเร็ว พบว่าส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตเม็ดดินปลูก คือ 90:10 การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ในส่วนของความหนาแน่น ความพรุน การหดตัว ก็มีความเหมาะสมในการเป็นเม็ดดินปลูกตามมาตรฐาน ASTM C373-88 และในส่วนของการนําไฟฟ้าของเม็ดดินปลูกมีค่าเหมาะสมต่อการ ปลูกพืชเนื่องจากไม่มีความเค็มมากเกิน(ไม่เกิน 2,000 μS/cm) นอกจากนี้ค่า pH ก็มีค่าใกล้เคียงความเป็นกลางจึงเหมาะสมที่จะนํามาใช้ปลูกพืชได้หลายชนิด ในการยืนยันสารประกอบชองเม็ดดินปลูกด้วย X-Ray Diffractometerและผล Scanning Electron Microscopy แสดงถึงอนุภาค พื้นผิว รูพรุน ของชิ้นงาน

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาการจัดการ
บริหารธุรกิจ(แขนงวิชาการตลาด)
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
-
วัสดุผสม, เม็ดดินปลูก, เหง้ามันสําปะหลัง, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

เจ้าของผลงาน
ดร.พัลลภ จันทร์กระจ่าง
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ดร.พัลลภ จันทร์กระจ่าง . (2564). การผลิตเม็ดดินปลูกด้วยวัสดุผสมจากตะกอนดินกับถ่านไบโอชาร์จากเหง้ามันสําปะหลัง เพื่อลดการทิ้งของเหลือจากการเกษตร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.