งานวิจัย การพัฒนาลายแคนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


การพัฒนาลายแคนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับลายแคน ศึกษาแนวทาง การพัฒนา และติดตามผลการพัฒนาลายแคนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร กลุ่มเปูาหมายในการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจ านวน 13 คน กลุ่มเปูาหมายการพัฒนาจ านวน 78 คน ขอบเขตด้านเนื้อหาประกอบด้วยแคน และลายแคน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ โดยได้ท าการวิจัย 2 วงรอบ ใช้ระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเป็นทางการ แบบมีโครงสร้างระดับกลาง จ านวน 2 ฉบับ และแบบสังเกต ผลการวิจัย พบว่า 1. ลายสุดสะแนนเป็นลายต้นแบบหรือลายครูในกลุ่มท านองทางสั้น ใช้บรรเลง ประกอบการล าของหมอล ากลอนหรือล าคู่ โต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง ลายโปูซ้ายเป็นลาย ต้นแบบหรือลายครูในกลุ่มท านองทางสั้นเช่นเดียวกับลายสุดสะแนนเพียงแต่ต่างกันที่ระดับเสียง โดยลายสุดสะแนนท่วงท านองจะมีระดับเสียงสูงและวิจิตรพิสดารมากกว่า ส่วนลายโปูซ้าย ท านองจะมีระดับเสียงที่ต่ ากว่า ลายสร้อยเป็นลายต้นแบบหรือลายครูในกลุ่มท านองทางสั้น เช่นเดียวกับลายสุดสะแนนและลายโปูซ้ายเพียงแต่ต่างกันที่ระดับเสียง เป็นลายที่ใช้เปุาอวดฝีมือ หรือความสามารถของหมอแคน ลายสร้อยนี้ไม่นิยมเปุาประกอบกลอนล า ลายใหญ่เป็นลาย ต้นแบบหรือลายครูในกลุ่มท านองทางยาว ใช้บรรเลงประกอบการล าของหมอล าประเภทท านอง ล าล่องหรือล าทางยาว และลายอ่านหนังสือ ซึ่งลายใหญ่เป็นลายที่เหมาะส าหรับเสียงล าของ ฝุายหญิง นอกจากนี้ในประเพณีลงข่วงเกี้ยวสาวของชาวอีสานสมัยโบราณ หมอแคนมักบรรเลง ลายใหญ่ในระหว่างเดินทางไปตามข่วงต่างๆ และลายน้อยเป็นลายต้นแบบหรือลายครูในกลุ่ม ท านองทางยาวเช่นเดียวกับลายใหญ่เพียงแต่ตางกันที่ระดับเสียง โดยลายใหญ่ช่วงท านองจะสั้น ส่วนลายน้อยช่วงท านองจะแหลมสูง นิยมใช้บรรเลงประกอบการล าของหมอล าประเภทล าเรื่อง ต่อกลอนหรือประกอบท านองล าล่องในระดับเสียงของหมอล าฝุายชาย 2. แนวทางการพัฒนาลายแคนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนครมี 3 แนวทาง ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศติดตาม และการนิเทศแบบ ให้ค าชี้แนะ 3. นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีซึ่งเป็นกลุ่มเปูาหมายในการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจ ลายแคนว่าเป็นศิลปะการเรียบเรียงเสียงไว้ในกลุ่มต่างๆ ให้มีความไพเราะ สอดประสานกันทั้ง ความซับซ้อนของท่วงท านองและจังหวะไปพร้อมๆ กัน ที่นักประพันธ์ได้ประพันธ์ เรียงร้อย หรือเรียบเรียงขึ้นเพื่อการบรรเลงดนตรีเพียงอย่างเดียว โดยใช้แคนบรรเลงเป็นหลัก ท าให้เกิด ความไพเราะและสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟังซึ่งถือเป็นสุดยอดของการบรรเลง ลายแคน เป็นศิลปะการเรียบเรียงเสียงที่ก าหนดไว้ในกลุ่มต่างๆ ให้มีความไพเราะ ซึ่งถือเป็นสุดยอดในการ บรรเลงแคน ทั้งนี้ ต้องสอดประสานกันทั้งท่วงท านองและจังหวะไปพร้อมๆ กัน ลีลาการเปุา ลายแคนของหมอแคนแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่ลักษณะเฉพาะ รสนิยม ไหวพริบ และ ความสามารถของแต่ละคน ลายแคนที่ส าคัญ ได้แก่ ลายสุดสะแนน ลายโปูซ้าย ลายสร้อย ลายใหญ่ และลายน้อย และสามารถพัฒนาลายแคนให้เป็นรูปธรรม มีความชัดเจน มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 2 ลาย คือ ลายโปูซ้าย และลายใหญ่

ทุนวิจัยงบรายได้
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดนตรี
สาขาสังคมวิทยา
-
การพัฒนา, ลายแคน

เจ้าของผลงาน
รศ.ดร.สายันต์ บุญใบ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
รศ.ดร.สายันต์ บุญใบ . (2563). การพัฒนาลายแคนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รศ.ดร.สายันต์ บุญใบ. (2563). การพัฒนาลายแคนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา(76) , .