งานวิจัย แนวปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพระดับคณะสู่ความเป็นเลิศ


แนวปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพระดับคณะสู่ความเป็นเลิศ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับองค์ประกอบการประกันคุณภาพระดับคณะ และนำผลการศึกษามาทดลองใช้ ในการทำงานประกันคุณภาพ อันนำไปสู่ความเป็นเลิศ (Excellent) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ผู้ประเมินระดับคณะ และอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้ และประสบการณ์ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่า 3 ปีขึ้นไป ในมหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ผู้ที่รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพและผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพ ทั้งในส่วน ที่เป็นผู้ประเมินระดับคณะ ด้วยแนวคำถามแบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา แนวคิดเกี่ยวกระบวนการ PDCA แนวคิด เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานอุดมศึกษา เป็นต้น ผลการวิจัย พบว่า การประกันคุณภาพจะต้อง ทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในการประกันคุณภาพโดยรวมทั้งหมด จะต้องมองเห็นถึงความเชื่อมโยงของงาน ตั้งแต่องค์ประกอบที่ 1 จนถึงองค์ประกอบที่ 5 และจะต้องมองเห็นความเชื่อมโยงของบุคลากรสายต่าง ๆ ในคณะ ตั้งแต่ผู้บริหาร ลงมาจนถึงระดับปฏิบัติการ ว่าจะต้องมีการวางแผนดำเนินการด้านการประกันคุณภาพให้เกิดความสำเร็จอย่างไร นอกจากนั้นในตัวโครงการหรือกิจกรรมที่ทำก็จะต้องใช้วิธีคิดเชิงกระบวนการและระบบในเรื่องการวางแผน (Planning) การลงมือทำ (Doing) ประเมินผล (Control) และการนำผลไปพัฒนาและปรับปรุงต่อไป (Action) นอกจากนี้ การดำเนินงานประกันคุณภาพจะต้องถูกกำหนดในระดับสูงที่เป็นแผนกลยุทธ์ ลงมาสู่แผนระดับกลาง และลงมาสู่แผนการปฏิบัติ ในการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึง และให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกว่ามีผลกระทบต่องานประกันคุณภาพหรือไม่ และจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดหรือทราบถึงปฏิกริยาตอบกลับของงานแต่ละส่วนที่กำหนดไว้ว่าออกมาในเชิงบวกหรือออกมาเชิงลบ ซึ่งออกมาในเชิงบวก แสดงให้เห็นว่า บุคลากรมีทัศนคติ ที่ดีมากขึ้นต่องานประกันคุณภาพ คณะก็ควรเร่งให้การประกันคุณภาพนั้นก้าวไปข้างหน้าและพัฒนาต่อไป แต่ถ้าหากตอบสนองในเชิงลบ ควรมีการปรับปรุงแก้ไข พิจารณาหรือหยุดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดภาพเชิงลบต่อการทำงานประกันคุณภาพไว้ และหาวิธีในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ดังนั้น การดำเนินงานทุกอย่างจะต้องมีการตั้งเป้าหมาย หรือผลที่ต้องการที่ชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้ รวมถึงระบุวิธีการประเมินผลสำเร็จด้วย

ทุนวิจัย R to R
ครุศาสตร์
วิชาชีพครู
-
-
-

เจ้าของผลงาน
รจนา ประดา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
รจนา ประดา . (2562). แนวปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพระดับคณะสู่ความเป็นเลิศ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.