งานวิจัย การส่งเสริมการผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านนางอย-บ้านโพนปลาโหล ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร


การส่งเสริมการผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านนางอย-บ้านโพนปลาโหล ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

การส่งเสริมการผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านนางอย-บ้านโพนปลาโหล ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์การผลิตมะเขือเทศของบ้านนางอยและบ้านโพนปลาโหล และเพื่อส่งเสริมการนำระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems, PGS) มาใช้ในการผลิตมะเขือ และประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า มะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจหลังฤดูกาลทำนาที่สำคัญของทั้งบ้านางอยและบ้านโพนปลาโหล โดยมีการผลิตมะเขือเทศผลใหญ่ส่งโรงงานแปรรูปในพื้นที่เป็นหลัก ที่ผ่านมาเกษตรกรผลิตมะเขือเทศโดยมีการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกเป็นหลักทำให้มีต้นทุนสูง และเริ่มมีปัญหาเรื่องสุขภาพจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรกร ผู้ปลูกมะเขือเทศปลอดสารพิษและการแปรรูปบ้านนางอย เพื่อรวมกันผลิตและจำหน่ายมะเขือเทศปลอดสารพิษทั้งผลสดและแปรรูป อย่างไรก็ตามกลุ่มยังมีข้อจำกัดในเรื่องการตลาดทั้งในเรื่องราคาที่ไม่เป็นธรรมและช่องทางการตลาดที่จำกัด โดยเฉพาะการยังไม่ได้รับรองมาตรฐานการผลิต จึงยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ กลุ่มจึงตั้งเป้าหมายในการเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และพบว่ามีระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พีจีเอส ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน และกลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำระบบได้เอง กลุ่มจึงเรียนรู้ร่วมกันในการจัดทำระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม พีจีเอส โดยได้ร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมในระดับกลุ่ม มีการแต่งตั้งทีมประเมินแปลงปลูกและการจัดทำเอกสารตามข้อกำหนดของระบบ พีจีเอส รวมถึงการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่ระบบการรับรอง และการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตเพื่อมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ และพบว่ามีเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกมะเขือเทศสมัครเข้าสู่ระบบการรับรองจำนวน 16 คน ผลการประเมินแปลงปลูกด้วยระบบเพื่อนเยี่ยมเพื่อนที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีปัญหาใน การบันทึกข้อมูลการผลิต จึงมีข้อเสนอแนะให้กลุ่มเกษตรกรปรับปรุงรูปแบบและเครื่องมือในการบันทึกให้สะดวกและเหมาะสมกับเกษตรกร นอกจากนี้การจัดทำระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พีจีเอส ของกลุ่มมะเขือเทศในระยะปรับเปลี่ยนสู่มะเขือเทศอินทรีย์พบว่า กลุ่มมะเขือเทศมีโอกาสในการเปิดช่องทางการตลาดใหม่เพิ่มขึ้นโดยสามารถติดต่อสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคผ่านระบบสังคมออนไลน์ รวมถึงการเปิดตลาดในแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่พญาเต่างอย ซึ่งช่วยให้กลุ่มสร้างฐานผู้บริโภคมะเขือเทศได้กว้างมากขึ้น

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
วิทยาการจัดการ
การบัญชี
สาขาสังคมวิทยา
-
มะเขือเทศ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม พีจีเอส การส่งเสริมการเกษตร สกลนคร

เจ้าของผลงาน
ปิยะจินต์ ปัทมดิลก
ยุพิน สมคำพี่, เจตรัมภา พรหมทะสาร, ชฎาพร แนบชิด, วัดชัย ยะพลหา, สมสมัย วิดีสา

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ปิยะจินต์ ปัทมดิลก ,ยุพิน สมคำพี่, เจตรัมภา พรหมทะสาร, ชฎาพร แนบชิด, วัดชัย ยะพลหา เเละ สมสมัย วิดีสา . (2563). การส่งเสริมการผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านนางอย-บ้านโพนปลาโหล ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถิติการเข้าชม