งานวิจัย การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมะเขือเทศพืชเศรษฐกิจชุมชนเต่างอย จังหวัดสกลนคร


การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมะเขือเทศพืชเศรษฐกิจชุมชนเต่างอย จังหวัดสกลนคร

งานวิจัยเรื่องการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมะเขือเทศพืชเศรษฐกิจชุมชนเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกรโดยใช้หลักการบูรณาการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้วัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรถึงผู้แปรรูปมะเขือเทศในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง3)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมะเขือเทศ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าได้มีการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์แบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholder) จนสามารถรู้ถึงความต้องการของตลาดไปสู่ผู้บริโภคว่ามีความต้องการเท่าไหร่แล้วกลับมาวางแผนการผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีการวางแผนซื้อขายกันไว้ล่วงหน้าส่วนการศึกษาด้านความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์คือ ผู้จัดหาวัตถุดิบ พ่อค้าคนกลาง ผู้คัดเลือกผลผลิตส่งให้กับโรงงานหลวงที่3 เต่างอยตามความต้องการของโรงงาน เพื่อให้การจัดส่งวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพการส่งสินค้าให้ตรงต่อเวลาและปลอดภัยการดำเนินงานในการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์โดยใช้ทฤษฏีตัวแบบจำลอง Supply Chain Operation Reference Model (SCOR Model) มาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการจัดการ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน (Plan) 2. การจัดซื้อจัดหา (Source) 3.การผลิต (Make) 4.การขนส่ง (Delivery) 5.การส่งคืน (Return) และ6.การสนับสนุนการดำเนินงาน (Enable) ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ศึกษาในด้านปัจจัยการผลิต (Input) เงินลงทุนต้องหากู้นอกระบบ เนื่องจากการกู้ในระบบคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่สถาบันการเงินต้องการจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง แรงงานในพื้นที่หายาก วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมสู่แบบใหม่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่เปลี่ยนแปลงในทันทีเนื่องจากพฤติกรรมการเพาะปลูกยังคงยึดติดแบบเดิม ด้านกระบวนการผลิต (Process)การบำรุงดูแลรักษาส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับโรคพืชและแมลงศัตรูพืชและด้านการเก็บเกี่ยว (Output) เมื่อผลผลิตเก็บเกี่ยวได้เกษตรกรจะนำผลผลิตส่งโรงงานหลวงที่3 เต่างอยในปริมาณและราคาที่ทำสัญญาตกลงกันไว้ ถ้าผลผลิตมาเกินกว่าส่งให้โรงงาน พ่อค้าคนกลางก็จะมาซื้อในราคาต่ำกว่าท้องตลาดแต่ถ้าขายไม่หมดก็เกิดปัญหาสินค้าคงคลังและผลผลิตมีระยะเวลาในการเก็บรักษาได้ไม่เกิน 1 เดือนทำให้คุณภาพไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาการจัดการ
บริหารธุรกิจ(แขนงการจัดการโลจิสติกส์)
สาขาเศรษฐศาสตร์
มะเขือเทศ
ห่วงโซ่อุปทาน, การจัดการโลจิสติกส์, ตัวแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงาน (SCOR Model)

เจ้าของผลงาน
ชฎาพร แนบชิด
เจตรัมภา พรหมทะสาร, ปิยะจินต์ ปัทมดิลก

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ชฎาพร แนบชิด ,เจตรัมภา พรหมทะสาร เเละ ปิยะจินต์ ปัทมดิลก . (2562). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมะเขือเทศพืชเศรษฐกิจชุมชนเต่างอย จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.