งานวิจัย การพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงโดยอาศัยพลังงานจากแรงกด ของรถยนต์


การพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงโดยอาศัยพลังงานจากแรงกด ของรถยนต์

ประสิทธิภาพด้านความคงทน น้ำหนักของรถยนต์ที่นำมาทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่ 1,355.30 กิโลกรัม หลังการทดสอบพบว่าน้ำหนักของรถยนต์ดังกล่าวไม่ส่งผลต่อโครงสร้างทางกลที่สร้างที่สร้างขึ้นแต่อย่างใด ประสิทธิภาพด้านความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากการเหยียบของล้อหน้าและล้อหลัง ให้แรงดันไฟฟ้าเฉลี่ย 41.60 โวลต์ และ 54.20 โวลต์ กระแสไฟฟ้าที่ได้จากการเหยียบของล้อหน้าและล้อหลังเฉลี่ย 29.20 แอมแปร์ และ 29.10 แอมแปร์ กำลังไฟฟ้าที่ได้จากการเหยียบของล้อหน้าและล้อหลังเฉลี่ย 1.22 วัตต์ และ 1.59 วัตต์ ประสิทธิภาพด้านการรักษาระดับแรงดันในการชาร์จแบตเตอรี่ พบว่าระดับแรงดันอินพุตที่ได้มีแรงดันอินพุตเฉลี่ย 48.86 โวลต์ ความถี่ที่ใช้มีค่าเฉลี่ย 14.55 กิโลเฮิรตซ์ ค่าดิวตี้ไซเคิลที่ใช้เฉลี่ย 71.56 เปอร์เซ็นต์ และระดับแรงดันไฟฟ้าที่ผ่านวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์ที่สร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ย 11.79 โวลต์ ประสิทธิภาพด้านระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ พบว่าแรงดันไฟฟ้าเฉลี่ยที่ได้ 53.36 โวลต์ กระแสไฟฟ้าเฉลี่ย 28.91 มิลลิแอมป์ แรงดันเอาต์พุตที่ได้จากวงจรชาร์จเฉลี่ย 11.86 โวลต์ กระแสเอาต์พุตที่ได้เฉลี่ยอ 28.36 มิลลิแอมป์ และแรงดันที่ได้จากแบตเตอรี่เฉลี่ย 11.85 โวลต์ ประสิทธิภาพด้านความเที่ยงตรงในการแสดงผลของวงจรควบคุมที่สร้างขึ้น พบว่า ในการแสดงผลผ่านจอแสดงผลแรงดันที่ได้จากแบตเตอรี่คือ 12.35 โวลต์ ซึ่งเมื่อนำมัลติมิเตอร์มาใช้ในการวัดแรงดัน ณ จุดเดียวกันกับที่ใช้วงจร แรงดันที่ได้คือ 12.31 โวลต์ มีค่าความคลาดเคลื่อนของการทดสอบเท่ากับ 0.04 โวลต์ การแสดงผลกระแสของแบตเตอรี่คือ 1.27 แอมป์แปร์ ค่าที่ได้จากมัลติมิเตอร์ ได้กระแสที่ 12.31แอมแปร์ ค่าความคลาดเคลื่อนของการทดสอบเท่ากับ 0.02 แอมแปร์ และการแสดงผลของ เวลา วัน เดือนและปีที่แสดงผลทางหน้าจอแสดงผลของวงจรที่สร้างขึ้น เทียบกับนาฬิกาที่ใช้ในการทดสอบ ผลปรากฎว่าไม่มีค่าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ประสิทธิภาพด้านความเที่ยงตรงในการตั้งเวลาเปิด-ปิด หลอดไฟอัตโนมัติของวงจรควบคุมที่สร้างขึ้น พบว่า การทดสอบดำเนินการทั้งหมด10 วัน โดยทำการตั้งเวลาการเปิดของหลอดไฟอัตโนมัติ เวลาที่ใช้ในการทดสอบคือ 19.00 น. ผลที่ได้คือ เมื่อถึงเวลา 19.00 น.ของทุกวันที่ทำการทดสอบ หลอดไฟจะติดทุกครั้ง ซึ่งถือว่าความเที่ยงตรงของการตั้งเวลาเปิดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของการตั้งเวลาปิดการทำงานของหลอดไฟอัตโนมัตินั้น เวลาที่ใช้ในการทดสอบคือ 6:00 น. ผลที่ได้คือเมื่อถึงเวลา 06.00 น.ของทุกวันที่ทำการทดสอบหลอดไฟจะดับทุกครั้ง ซึ่งถือว่าความเที่ยงตรงของของการตั้งเวลาปิดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายจะเห็นได้ว่าการใช้ไฟฟ้าของไฟส่องสว่างที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 วัตต์ 220 โวลต์ กับการทำงานของวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ทำงานร่วมกับหลอดแอลอีดีขนาด 18 วัตต์ 220 โวลต์ ซึ่งจำนวนหลอด และ ระยะเวลาใช้งานต่อวันที่เท่ากัน พบว่าถ้าใช้งานของหลอดไฟทั้งสองแบบเป็นเวลา 1 และ 12 ชั่วโมง หลอดฟลูออเรสเซนต์นั้นในระยะเวลา 1 ปี ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินทั้งสิ้น 105.12 บาท ถ้าใช้งานเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ในเวลา 1 ปี จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินทั้งสิ้น 101.84 บาท เมื่อนำหลอดแอลอีดีมาใช้งานเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในเวลา 1 ปี จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินทั้งสิ้น 105.12 บาท ถ้าใช้งานเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ในระยะเวลา 1 ปี จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินทั้งสิ้น 105.12 บาท

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์)
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
-
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง, แรงกด, วงจรคอนเวอร์เตอร์

เจ้าของผลงาน
วาสนา เกษมสินธ์
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
วาสนา เกษมสินธ์ . (2561). การพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงโดยอาศัยพลังงานจากแรงกด ของรถยนต์. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.