งานวิจัย การศึกษาการถ่ายทอด และตรวจสอบลักษณะของถั่วลิสง (พันธุ์กาฬสินธุ์ 2 และพันธุ์กลายจากกาฬสินธุ์ 2) เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง


การศึกษาการถ่ายทอด และตรวจสอบลักษณะของถั่วลิสง (พันธุ์กาฬสินธุ์ 2 และพันธุ์กลายจากกาฬสินธุ์ 2) เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง

จากการศึกษาลักษณะทางการเกษตร องค์ประกอบผลผลิต และการถ่ายทอดลักษณะบางประการของถั่วลิสง พันธุ์กลายจากกาฬสินธุ์ 2 พบว่า เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทางการเกษตรในลักษณะใบ จำนวนกิ่งของถั่วลิสงพันธุ์กลาย จากกาฬสินธุ์ 2 (KL2M) กับถั่วลิสงพันธุ์ T37/44 และกาฬสินธุ์ 2 (KL2) พบว่า ถั่วลิสงพันธุ์กลายจากกาฬสินธุ์ 2 มีลักษณะ จำนวนกิ่ง และลักษณะใบ (ความกว้างใบ ความยาวใบ สัดส่วนความกว้างใบ/ความยาวใบ) ไม่แตกต่างจากถั่วลิสงพันธุ์ กาฬสินธุ์ 2 แต่พบว่าทุกลักษณะที่ทำการศึกษาแตกต่างจาก T37/44 ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการผสมระหว่างถั่ว ลิสงพันธุ์ T37/44 กับถั่วลิสงพันธุ์กลายจากกาฬสินธุ์ 2 เพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการศึกษาลักษณะ ต่าง ๆ ในลักษณะการมีลายคาดสีแดงบน standard ของดอก พบว่า ในลูกผสมชั่วที่ 1 มีลายคาดสีแดง บน standard ของดอก อัตราส่วนการกระจายตัวของลูกชั่วที่ 2 มีสัดส่วนระหว่างการมีลายคาดสีแดง บน standard ของดอก : ไม่มีลายคาดสีแดง บน standard ของดอก ไม่แตกต่างจาก 3: 1 (X2 = 0.23) บ่งชี้ว่าลักษณะการมีลายคาดบน standard ของดอก เป็นลักษณะเด่น ถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ ในลักษณะสียอด พบว่า ในลูกผสมชั่วที่ 1 มีมียอดสีน้ำตาล อัตราส่วนการกระจายตัวของลูกชั่ว ที่ 2 มีสัดส่วนระหว่างการมียอดสีน้ำตาล : ยอดสีเขียว ไม่แตกต่างจาก 3: 1 (X2 = 2.84) บ่งชี้ว่าลักษณะการมียอดสีน้ำตาล เป็นลักษณะเด่น ถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ ในลักษณะสีเข็ม พบว่า ในลูกชั่วที่ 1 ปรากฏเข็มสีม่วง อัตราส่วนของลูกชั่ว ที่ 2 ระหว่าง ต้นที่มีเข็มสีม่วง : ต้นที่มีเข็มสีเขียวไม่แตกต่างจาก 3: 1 X2 = 0.65) บ่งชี้ว่าลักษณะการมีเข็มสีม่วงเป็นลักษณะ เด่น ถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ ในลักษณะสีเยื่อหุ้มเมล็ด พบว่า ลูกชั่วที่ 1 มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง อัตราส่วนการกระจาย ตัวของลูกชั่วที่ 2 มีอัตราส่วนระหว่างต้นที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง : ต้นที่มีเมล็ดสีแทนไม่แตกต่างจาก 3: 1 (X2 = 1.05) บ่งชี้ว่า ลักษณะการมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงเป็นลักษณะเด่น ถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ ในลักษณะลายฝัก พบว่า ลูกชั่วที่ 1 ทุกต้นมี ลายฝัก อัตราส่วนการกระจายตัวของลูกชั่วที่ 2 มีอัตราส่วนระหว่างต้นที่มีลายฝัก : ต้นที่ไม่มีลายฝักไม่แตกต่างจาก 3: 1 (X2 = 0.066) บ่งชี้ว่าลักษณะการมีลายฝักเป็นลักษณะเด่น ถูกควบคุมด้วยยีน 3 คู่ ในลักษณะจำนวนเมล็ด/ฝัก พบว่า ลูกชั่วที่ 1 ทุกต้นมี 3 เมล็ด/ฝัก อัตราส่วนการกระจายตัวของลูกชั่วที่ 2 มีอัตราส่วนระหว่างต้นที่มี 3-4 เมล็ด/ฝัก : ต้นที่มี 2 เมล็ด/ฝัก ไม่แตกต่างจาก 15: 1 (X2 = 0.51) บ่งชี้ว่าลักษณะการมี 3-4 เมล็ด/ฝัก เป็นลักษณะเด่น ถูกควบคุมด้วยยีน 2 คู่ นอกจากนี้ใน การศึกษาครั้งนี้ พบว่า ต้นที่มีลายคาดสีแดง บน standard ของดอกมักปรากฏสีเยื่อหุ้มเมล็ด

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ
ถั่วลิงสง, การปรับปรุงพันธุ์

เจ้าของผลงาน
สุนทรีย์ สุรศร
ศิริพร ข่าขันมะลี

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สุนทรีย์ สุรศร เเละ ศิริพร ข่าขันมะลี . (2555). การศึกษาการถ่ายทอด และตรวจสอบลักษณะของถั่วลิสง (พันธุ์กาฬสินธุ์ 2 และพันธุ์กลายจากกาฬสินธุ์ 2) เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถิติการเข้าชม