งานวิจัย การหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมและการออกแบบศูนย์รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราในพื้นที่จังหวัดสกลนคร


การหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมและการออกแบบศูนย์รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมของโรงงานแปรรูปยางพาราในพื้นที่ จังหวัดสกลนครโดยปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่ายน้ำยางพารา ทำให้เสียเวลาและเพิ่มต้นทุนในการขนส่ง ผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดนำเสนอการตั้ง โรงงานแปรรูปยางพาราในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่เกษตรกร ชาวสวนยางพารา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกร ทั้งนี้ผู้วิจัยเริ่มจากการหาตำแหน่ง ที่ตั้งที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยประยุกต์ใช้วิธีการหาจุดศูนย์ ถ่วง (Center of Gravity Method) เพื่อคำนวณหาพิกัด (X, Y) ของตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งได้จุดพิกัด X = 103.658769, Y = 17.511572 ตรงกับตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จากนั้น ทำการวิเคราะห์การให้คะแนนปัจจัยที่มีผลิตอการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานแปรรูปยางพารา ด้วย วิธีการให้คะแนน (Factor Rating Method) เพื่อให้ได้ค่าคะแนนน้ำหนักของแต่ละปัจจัย โดยได้ ทำการออกแบบสอบถามชุดที่ 1 สำหรับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทำ การออกแบบสอบถามชุดที่ 2 สำหรับคะแนนจากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำคะแนนที่ได้คูณกับค่า น้ำหนักของแต่ละปัจจัย ผลคะแนนที่ได้อยู่ที่ 83.437 คะแนนมากกว่าค่าคะแนนที่กำหนดไว้ จึง สามารถสรุปได้ว่าตำแหน่งที่ตั้งที่ได้มีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราในพื้นที่ จังหวัดสกลนคร และได้ทำการหาจุดรับซื้อน้ำยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ซึ่ง จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งอยู่ที่ 15,406.8 บาท/รอบ ดังนั้นผู้วิจัย จำเป็นต้องหาจุดรับซื้อน้ำยางพาราที่เหมาะสม เพื่อลดระยะทางและค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ชาวสวนยางพารา โดยได้ประยุกต์ใช้วิธีการจัดกลุ่ม (K-mean Clustering Method) สำหรับการ จัดกลุ่มร่วมกับวิธีการหาจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity Method) เพื่อคำนวณหาจุดรับซื้อน้ำ ยางพารา ผลลัพธ์ที่ได้คือจุดรับซื้อน้ำยางพารา เท่ากับ14 จุดโดยแต่ละจุดครอบคลุมพื้นที่ภายใน รัศมี 15 กิโลเมตร คิดเป็น 94.7เปอร์เช็นต์ ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมดในพื้นที่จังหวัด สกลนคร โดยเกษตรกรจะมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งลดลงจากค่าใช้จ่ายในการส่งเดิมเท่ากับ 12,706.8 บาท/รอบ หรือ 82.5เปอร์เช็นต์ ของค่าใช้จ่ายเดิม การวิจัยเพื่อออกแบบศูนย์ รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราในจังหวัดสกลนคร และ เพื่อพยากรณ์ปริมาณการผลิตยางพาราในจังหวัดสกลนคร ปัจจุบันจังหวัดสกลนครมีพื้นที่ปลูก ยางพารา 354,646 ไร่ ที่ให้ผลผลิตน้ำยางแล้วประมาณ 173,640 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละ 40,663 ตัน มีแนวโน้มอีก 3 – 5 ปี จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลพืชเศรษฐกิจจังหวัด สกลนคร ปีการเพาะปลูก 2555 - 2557) ผู้วิจัยได้ทำการพยากรณ์ผลผลิตน้ำยางพารา อีก 5 ปี (พ.ศ.2558 – 2562) ค่าพยากรณ์ปริมาณยางพาราสูงสุดในปี พ.ศ. 2562 เท่า 99,189 ตันต่อปี โดยได้ทำการพยากรณ์ด้วยวิธีปรับเรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียล ทั้งนี้ในการออกแบบศูนย์รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราในจังหวัดสกลนคร จะทำการกำหนดส่วนแบ่งทางการตลาดที่คาดว่าจะ ได้หลังจากตั้งศูนย์รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราในจังหวัดสกลนคร ขึ้นมาไว้ที่ 30 % กำหนดเปอร์เซ็นต์ของเสยีที่ 5 % ได้กำลังการผลิตจากการพยากรณ์32,000 ตัน/ปี (เนื่องจากยัง เป็นศูนย์รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราแห่งใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก) เพื่อแปรรูป ยางพาราเบื้องต้นจากน้ำยางของเกษตรกรผ่านกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบและนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาการออกแบบโรงงานโดยใช้3 วิธีการวางผัง ได้แก่CORELAP , Graph based Method , Growth Method และ 1 วิธีปรับปรุง CRAFT ซึ่ง นำเสนอในรูปแบบ Block layout พื้นที่โดยรวมทั้งหมดของศูนย์ 30 ไร่ วิเคราะห์เงินลงทุนและ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของศูนย์ผลิต แปรรูปยางพาราในจังหวัดสกลนคร จากการศึกษาความ เป็นไปได้ทางการเงิน มูลค่าสุทธิ (NPV) เท่ากับ 197,890,220 บาท จุดคุ้มทุนเท่ากับ 732,530,560 บาท/ปี ระยะเวลาคืนทุน 2-3 ปี ชี้ให้เห็นว่าโครงการนี้ให้ผลคุ้มค่าและเหมาะแก่ การลงทุน

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิต)
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ยางพารา
ทำเลที่ตั้ง, โรงงานยางพารา, จุดศูนย์ถ่วง, การหาจุดรับซื้อน้ำยางพารา, การจัดกลุ่ม, การพยากรณ์, การวางผังโรงงาน และยางพารา

เจ้าของผลงาน
นุจิรา โคตรหานาม
ภัทราพล กองทรัพย์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นุจิรา โคตรหานาม เเละ ภัทราพล กองทรัพย์ . (2560). การหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมและการออกแบบศูนย์รวบรวม ผลิตและแปรรูปยางพาราในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.