งานวิจัย การผลิตยางพาราแผ่นผึ่งแห้งจากน้ำส้มควันไม้เปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิก


การผลิตยางพาราแผ่นผึ่งแห้งจากน้ำส้มควันไม้เปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิก

งานวิจัยนี้ ศึกษาปริมาณและค่า pH ในน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่านไม้ยูคาลิปตัสจาก เตาอิวาเตะ พบว่าเมื่อนำน้ำส้มควันไม้ที่ผ่านการตั้งไว้ 90 วันมากลั่นด้วยเครื่องกลั่นลดความดัน ได้ปริมาณน้ำส้มควันไม้ 92 % v/v ค่า pH เท่ากับ 2.10 และความเข้มข้นของกรดในน้ำส้มควันไม้ 0.38 M หลังจากนั้นนำน้ำส้มควันไม้ที่ได้มาศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตยางพาราแผ่น แห้งแล้วเปรียบเทียบคุณภาพของยางพาราแผ่นแห้งกับกรดฟอร์มิกและกรดอะซีติก พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิต คือ น้ำส้มควันไม้ : น้ำยางพารา : น้ำ เท่ากับ 195 : 2000 : 3000 mL และเมื่อน้ายางพาราแผ่นแห้งที่ผลิตได้มาตรวจสอบค่าการวิเคราะห์สารปนเปื้อน ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณสารระเหย ค่าความอ่อนตัวเริ่มต้น ค่าดัชนีความอ่อนตัวของยาง และ การหาค่าความหนืด พบว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่ากรดฟอร์มิกและกรดอะซีติก ดังนั่นในการผลิต ยางพาราแผ่นแห้งด้วยน้ำส้มควันไม้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะใช้วัตถุดิบตามภูมิ ปัญญาชาวบ้านและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
สถาบันวิจัยและพัฒนา
เคมี
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ยางพารา
ยางพารา ,ยางพาราแผ่นผึ่งแห้ง หรือ ยางแผ่นผึ่งแห้ง

เจ้าของผลงาน
อรุณฉาย อุนาศรี
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อรุณฉาย อุนาศรี . (2558). การผลิตยางพาราแผ่นผึ่งแห้งจากน้ำส้มควันไม้เปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิก. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.