งานวิจัย การศึกษาคุณสมบัติเชิงแสงของฝุ่นละอองสำหรับประเทศไทย


การศึกษาคุณสมบัติเชิงแสงของฝุ่นละอองสำหรับประเทศไทย

โอโซน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ ความลึกเชิงแสงของฝุ่นละออง (A0D) ในแนวคอลัมน์ได้จากเครื่อง Brewer Spectrophotometer ในปี 1997-2011 ที่กรุงเทพมหานครและสงขลา โอโซนได้จากสองสถานีมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงคล้ายกัน คือมีค่าสูงในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงฤดูหนาว และพบว่าการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพมหานครจะมีมากกว่าที่สงขลา ส่วนซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในกรุงเทพมหานครมีค่าสูงในช่วงฤดูร้อนซึ่งต่างจากสงขลาซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในช่วงฤดูร้อนมีค่าต่ำ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของ A0D ที่กรุงเทพมหานครมีค่าสูงมากกว่าที่สงขลา นอกจานี้ยังพบว่า A0D ค่าสูงในช่วงเช้าและช่วงบ่ายซึ่งตรงกันข้ามกับค่าที่ได้จากสงขลา ส่วนการเปลี่ยนรายเดือนพบว่า A0D มีค่าสูงในช่วงฤดูร้อนมีค่าต่ำในช่วงฤดูฝน ส่วนการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสงขลาไม่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้หาค่า A0D ในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการ Extrapolation A0D ที่ได้จากข้อมูลของ AERONET ที่ความยาวคลื่น (1020, 870, 675, 500, 440, 380, และ 340nm) เพื่อ A0D ที่ความยาวคลื่น 320 นาโนเมตร ทั้ง 8 แห่งในประเทศไทย พบว่า AOD เกือบทุกสถานีมีค่าสูงในช่วงฤดูร้อนและมีค่าต่ำในช่วงฤดูฝน

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ฝุ่นละออง , คุณสมบัติเชิงแสง

เจ้าของผลงาน
วิลาวรรณ์ คำหาญ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
วิลาวรรณ์ คำหาญ . (2557). การศึกษาคุณสมบัติเชิงแสงของฝุ่นละอองสำหรับประเทศไทย. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.