งานวิจัย การศึกษาและปรับปรุงคุณภาพการผลิตไม้อัดจากเปลือกเมล็ดยางพาราในท้องถิ่น


การศึกษาและปรับปรุงคุณภาพการผลิตไม้อัดจากเปลือกเมล็ดยางพาราในท้องถิ่น

งานวิจัยในครั้งนี้ต้องการการศึกษาถึงกระบวนการผลิตไม้อัดจากเปลือกเมล็ดยางพารา เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรชาวสวนยาง หรือกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่นสามารถที่จะ ผลิตไม้อัดจากเปลือกเมล็ดยางพาราที่มีอยู่ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกเมล็ดยางพาราที่ถูกทิ้ง และสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรได้ดังนั้นในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยจึงศึกษาหา กระบวนการที่น่าจะเป็นไปได้ในระดับท้องถิ่นเครื่องมือเครื่องจักรที่เกษตรมีอยู่หรือพอหาได้ โดย เลือกใช้กาวประสานที่ราคาไม่แพงมากนักและสามารถจะแข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง และมีคุณสมบัติ ในการอุดช่องว่างได้ดี เลือกทดลอง กาว 2 ชนิดคือ กาวเรซิ่นอีพ๊อกซี และกาวผงบอสนี โดยทำ การทดสอบจำนวน 36 ตัวอย่าง (กาว 2 ชนิด x อัตราส่วน 2 อัตราส่วน x ความหนาแน่นของ แผ่น 3 ความหนาแน่น x ผลติซ้ำ3 แผ่น) จากผลการทดลองพบว่าการใช้กาวผงบอสนี เป็นตัวยึดประสานกับผงผุ่นจากเปลือก เมล็ดยางพารานั้น จะต้องมีการเพิ่มน้ำ1/2 ส่วนต่อกาวผงบอสนี1 ส่วน เข้าไปในส่วนผสม เป็นการเพิ่มความชื้นให้กับแผ่นไม้อัดอีกทางหนึ่งและในขั้นตอนการขึ้นรูปไม้อัดด้วยมือนั้นก็ขึ้น รูปได้ยากกว่าการใช้กาวเรซิ่นอีพ๊อกซี ส่วนในด้านคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของแผ่นไม้ อัดนั้น จากการใช้กาวทั้ง 2 ชนิด ให้ผลไปในทางเดียวกัน คือ ไม้อัดที่มีความหนาแน่นสูง จะมี ค่าปริมาณความชื้น ค่าการพองตัวเมื่อแช่น้ำ ค่าแรงต้านภายใน ค่าความต้านทานแรงดึง และค่าความต้านทานแรงกด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามค่าความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่แผ่นไม้ อัดมีขนาดเท่ากัน แต่มีค่าค่าการดูดซับน้ำ แปรผกผันกับค่าความหนาแน่นของแผ่นไม้อัด เนื่องจาก ไม้อัดที่ค่าความหนาแน่นมากมีช่องว่างภายในน้อยนั้นเอง

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ยางพารา
การผลิตไม้อัด , เมล็ดยางพารา

เจ้าของผลงาน
วิชชุดา ภาโสม
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
วิชชุดา ภาโสม . (2558). การศึกษาและปรับปรุงคุณภาพการผลิตไม้อัดจากเปลือกเมล็ดยางพาราในท้องถิ่น. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.