งานวิจัย กลไกการจัดการความรู้ของศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว


กลไกการจัดการความรู้ของศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ และกลไกทางสังคมที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอด องค์ความรู้ของ ศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ต่อการพัฒนาเป็นเครือข่ายทางสังคมในชุมชน โดยเลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แนวคิดการจัดจัดการความรู้ เครือข่ายทางสังคม และกลไกทางสังคม เพื่อศึกษาเรื่องกลไกการจัดการความรู้ของศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวทางสัมภาษณ์ แนวทางสังเกตการณ์ และการจดบันทึกภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจาก ประธาน คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์สามวัยฯ ชาวบ้านและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของศูนย์สามวัยฯ และนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการความรู้ของศูนย์สามวัยฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การสร้างความรู้ (กำหนดหลักสูตร) และการจัดเก็บองค์ความรู้ (คู่มือ จุดบริการแหล่งเรียนรู้) ประกอบด้วย การทอผ้าย้อมคราม ศิลปะมวยไทย (มวยไทย ) ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง พ่อสอนให้พอเพียง (เทคนิคการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น) อบรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน (ศูนย์ ICT) จักสานและอาชีพเสริมหัตถกรรม และดนตรีพื้นเมือง เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เข้าใช้บริการ ส่วนที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แหล่งข้อมูลให้บริการแก่เด็ก- เยาวชน วัยกลางคน และผู้สูงวัยในชุมชน ได้เข้ามาเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามความสนใจของกลุ่มคนแต่ละเพศแต่ละวัยซึ่งกำหนดกฎระเบียบในการใช้ทรัพยากรร่วมกันของคนในชุมชนเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน องค์ประกอบหลักของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์สามวัยฯ ได้แก่ คน สถานที่ บรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวก และส่วนที่ 3 การถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาเครือข่ายกลไกการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้ เช่น การบรรยาย การอภิปราย อาจจะเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล การฝึกปฏิบัติ และการยกตัวอย่างกรณีศึกษา ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีการ สื่อสาร อุปกรณ์ และสถานที่ พร้อมทั้งมีการ การประเมินผล ความสำเร็จ และ อุปสรรคปัญหาของการดาเนินงาน กลไกทางสังคมที่ขับเคลื่อนการทำงานของศูนย์ ประกอบด้วย 2 กลไกล คือ 1) โครงสร้างคณะกรรมการขับเคลื่อนงานของศูนย์สามวัยฯ เป็นกลไกที่เกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานของศูนย์ฯ (รูปแบบเป็นทางการ ) และ 2) กลไกการขับเคลื่อนงานโดยใช้ระบบเครือญาติ (กลไกการขับเคลื่อนรูปแบบไม่ทางการ ) คือ ระบบครอบครัวและเครือญาติ กลายเป็นกลไกการทางานพัฒนาเครือข่ายทางสังคม ที่เชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์บนพื้นฐานแห่งการให้คุณค่าทางความสัมพันธ์ เป็นพลังแห่งการประสานความร่วมมือ และเกื้อกูล การจัดกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่าย เช่น การกำหนดหลักสูตรและรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมในแต่ล่ะรุ่น ซึ่งเครือข่ายใช้วิธีการจัดการในรูปของคณะกรรมการ โดยใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อน การพัฒนาขับเคลื่อนการจัดการความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ของกลุ่มคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ทุนวิจัยงบรายได้
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
การพัฒนาชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
มนุษยศาสตร์
-

เจ้าของผลงาน
อุทุมพร หลอดโค
ธนวัฒน์ พันทา

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อุทุมพร หลอดโค เเละ ธนวัฒน์ พันทา . (2558). กลไกการจัดการความรู้ของศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.