งานวิจัย กระบวนการสร้างข้อบัญญัติตำบลเรื่องการจัดการป่าชุมชน


กระบวนการสร้างข้อบัญญัติตำบลเรื่องการจัดการป่าชุมชน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสำรวจระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ป่าชุมชนของเทศบาลตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และศึกษากระบวนการ สร้างข้อบัญญัติระดับตำบล เรื่องการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยเลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แนวคิดการจัดการป่าชุมชน สิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แนวทางสัมภาษณ์ แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทางสังเกตการณ์ และการจดบันทึก ภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากผู้นำชุมชน ผู้รู้ และชาวบ้าน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธี วิเคราะห์ชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร มีจำนวนพื้นที่ป่า สาธารณะ 304 ไร่ และแบ่งเป็นพื้นที่ป่าชุมชนในการอนุรักษ์ จำนวน 24 ไร่ อยู่ในหมู่บ้านบะหว้า หมู่2, 7 และ 9 จากการสำรวจระบบนิเวศของป่าชุมชนบ้านบะหว้า สามารถจำแนกประเภทของ ทรัพยากรได้เป็น 3 ประเภท คือ พืชสมุนไพร จำนวน 23 ชนิด ไม่ใช้สอย จำนวน 12 ชนิด และพืชกิน ได้ จำนวน 10 ชนิด ชาวบ้านมีรูปแบบการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน เช่น การเก็บหาอาหารธรรมชาติ การรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร การตัดไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อสร้าง หรือซ่อมแซมบ้านเรือนที่พัก อาศัย รวมถึงใช้สถานที่ของป่าชุมชนบางส่วนเป็นสถานที่ประกอบพิธีฌาปณกิจ โดยชาวบ้านได้เข้ามา มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างข้อบัญญัติต่อการจัดการป่าชุมชน คือ การสร้างความเข้าใจและปลุก ความคิดริเริ่มในการจัดการป่าชุมชน เป็นเชื่อมโยงระบบสังคมและวัฒนธรรมเข้ากับเรื่องป่าและ ทรัพยากร รวมถึงมีการดูแลรักษาป่าชุมชนอาจเป็นป่าธรรมชาติหรือป่าปลูกขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทน บนฐานทรัพยากรชุมชน ทางชีวภาพ ทางกายภาพ และทรัพยากรที่ชุมชนสร้างขึ้น และต้องอาศัย ความร่วมมือและการยอมรับของคนในชุมชน ร่วมกับการทำงานผสานหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการบริหารจัดการป่าและทรัพยากร ร่วมกำหนดแนวทางในการจัดการ ป่าชุมชนของชาวบ้านบะหว้า และจัดทำกฎบทบัญญัติการจัดการป่าชุมชนให้ชุมชนสามารถ ดำเนินการในการจัดการป่าชุมชน ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายผลบังคับใช้ภายในหมู่บ้าน ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านบะหว้า หมู่2, 7 และ 9 ซึ่งในกระบวนการยกร่างข้อบัญญัติตำบลเรื่อง การจัดการป่าชุมชนตำบลบะหว้า ทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมีคุณค่าและอย่างชอบ ธรรม ผ่านเวทีประชาพิจารณ์เพื่อเตรียมความพร้อม วางบทบาทหน้าที่ และสร้างมาตรการในการ ควบคุมดูแลป่าชุมชน โดยได้รับการรองรับจากเทศบาลตําบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัด สกลนคร เพื่อวางเป็นบทบัญญัติการจัดการป่าชุมชนบ้านบะหว้าโดยมีสารสาระสำคัญของข้อห้าม ประกอบด้วย (1) ห้ามไม่ให้ผู้ใดทำไม่ในบริเวณเขตป่าชุมชน เว้นแต่เพื่อการประเพณีแห่งท้องถิ่นหรือใช้ เพื่อกิจสาธารณะในชุมชน โดยต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการป่าชุมชนเป็นรายเฉพาะกรณี (2) ห้ามไม่ให้บุคคลใดเข้ายึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ อยู่อาศัยหรือเป็นที่ทำกินโดย เด็ดขาด (3) ห้ามมิให้ใช้วิธีการเก็บหาของป่าที่จะเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าชุมชน การเก็บหาของ ป่าสามารถทำได้ในเวลากลางวัน 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น (4) ห้ามมิให้บุคคลใดทำการเผา ก่อไฟ หรือวิธีการใดๆ ให้เกิดไฟในเขตป่าชุมชน หรือพื้นที่ โดยรอบที่ใกล้พื้นที่ป่าจนอาจก่อให้เกิดไฟป่าได้ (5) ห้ามไม่ให้ผู้ใดทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลหรือของเสียใดๆ ในเขตพื้นที่ป่าชุมชน หากกระทำการฝ่าฝืนกฎดังกล่าว จะมีโทษปรับ 500 บาท พร้อมแจ้งความดำเนินคดีตาม กฎหมาย ทั้งนี้ความเชื่อดังกล่าวอยู่บนพื้นพื้นฐาน ที่ว่า “คนสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้โดยสัญญา ร่วมกันว่าจะดูแลรักษาทรัพยากรร่วมกัน” ส่งผลกระตุ้นสํานึกรักผืนป่าชุมชน ซึ่งการสร้างการมีส่วน ร่วมเกิดจากชาวบ้านในชุมชนคิดริเริ่มและลงมือกระทำ รวมทั้งการสนับสนุนของผู้นำชุมชนหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ประชาชนได้มีบทบาทในการจัดการป่าชุมชนให้มากขึ้น ก่อให้เกิด การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเพื่อส่วนร่วม

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
การพัฒนาชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
-
ข้อบัญญัติตำบล , การจัดการป่าชุมชน

เจ้าของผลงาน
อุทุมพร หลอดโค
ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล,ณัฐพร จิระวัฒนาสมกุล

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อุทุมพร หลอดโค ,ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล เเละ ณัฐพร จิระวัฒนาสมกุล . (2559). กระบวนการสร้างข้อบัญญัติตำบลเรื่องการจัดการป่าชุมชน. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.