งานวิจัย การวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานการทำนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


การวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานการทำนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาอีสานเกี่ยวกับการทำนา และเพื่อวิเคราะห์ ภูมิปัญาท้องถิ่นอีสานเกี่ยวกับการทำนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในพื้นที่บ้านม่วงคำ ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งมีโครงสร้าง และ แบบวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานเกี่ยวกับการทำนาด้วยวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และ วิเคราะห์ภูมิปัญาท้องถิ่นอีสานเกี่ยวกับการทำนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ภูมิปัญญาอีสานเกี่ยวกับการทำนาในเขตพื้นที่บ้านม่วงคำ ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เป็นการทำนาในช่วงฤดูกาล เรียกว่า “นาปี” แบบนดำ พันธุ์ข้าวที่ปลูก กข15 และ กข6 มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ 1) การเตรียมพื้นที่ทำนา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การทำความสะอาดพื้นที่นา การบำรุงดิน และการเตรียมดิน 2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต้นกล้า และการแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ 3) การตกกล้า 4) การ บำรุงรักษาต้นกล้า มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การให้น้ำ และการใส่ปุ๋ย 5) การถอนกล้า 6) การปลูก มีขั้นตอน คือ การปักดำ และการดูแลรักษาต้นข้าว 7) การเก็บเกี่ยว แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเกี่ยวข้าว การมัดข้าว และการฟาดข้าว–นวดข้าว และ 8) การเก็บรักษาข้าวเปลือก 2. การวิเคราะห์ภูมิปัญาท้องถิ่นอีสานเกี่ยวกับการทำนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พบว่าภูมิปัญญาการทำนาอีสานทุกขั้นตอน มีความสัมพันธ์ และสามารถอธิบายได้ด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ ทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล

ทุนวิจัยงบรายได้
ครุศาสตร์
หลักสูตรและการสอน
สาขาการศึกษา
การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การทำนา, วิธีการทางวิทยาศาสตร์

เจ้าของผลงาน
เบญจพร อุผา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
เบญจพร อุผา . (2559). การวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานการทำนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.