งานวิจัย การศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง


การศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง และ 2) เพื่อหาวิธีปรับสีของภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้เหมือนกับสีของผ้าย้อมครามผืนจริง สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย เป็นภาพถ่ายโดยกล้องถ่ายรูปเดียวกันในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน จากผ้าย้อมคราม 138 ภาพ ที่เป็นสีล้วน มีลวดลาย และมีเฉดสีที่แตกต่าง ซึ่งรวบรวมมาจากกลุ่มผู้ทอผ้าพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ผู้ร่วมการทดลองเป็นนักศึกษาทั้งหมด 85 คน หญิง 50 คน และชาย 35 คน ผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนจะประเมินความเหมือนของสีภาพถ่ายผ้าย้อมครามที่แสดงผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีของผ้าย้อมครามผืนจริง แต่ละภาพจะถูกประเมิน 3 ครั้ง ในเวลาที่ต่างกัน จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าสีของภาพผ้าครามที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แตกต่างจากสีแท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ คือสีผ้าย้อมครามที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์อ่อนกว่าสีผ้าย้อมครามผืนจริง หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการปรับสีของภาพถ่ายผ้าย้อมครามโดยใช้เทคนิค Power-Law Transformation จากการทดลองพบว่าภาพของผ้าย้อมครามสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มโทนสีฟ้าคลาสสิคหรือโทนสีไม่ฉูดฉาด (classic dull blue) 2) กลุ่มโทนสีฟ้าสดใส (vivid blue) และ 3) กลุ่มโทนสีน้ำเงินเข้มหรือโทนสีกรมท่า (dark blue) และค่าแกมม่าที่ใช้กับ Power-Law Transformation เพื่อจะปรับสีของภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้สีที่ใกล้เคียงที่สุดกับสีผ้าผืนจริง จะอยู่ในช่วง [1, 1.5) สำหรับภาพโทนสีไม่ฉูดฉาด [1.5, 3.0) สำหรับภาพโทนสีฟ้าสดใส และ [3.0, 4.5) สำหรับภาพโทนสีกรมท่า

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
คราม
ผ้าย้อมคราม

เจ้าของผลงาน
กรรณิการ์ กมลรัตน์
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
กรรณิการ์ กมลรัตน์ . (2556). การศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กรรณิการ์ กมลรัตน์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง. SNRU Journal of Science and Technology(6-11) , 51-64.
สถิติการเข้าชม