งานวิจัย ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจของผ้าย้อมคราม ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจของผ้าย้อมคราม ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมของผ้าย้อมครามที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม ได้แก่ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participation observation) การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การจัดเสวนากลุ่ม (focus group) และการพูดคุยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) ของแต่ละชุมชนในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับประวัติชุมชน ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับภูมิปัญญาผ้าย้อมคราม ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนผ้าย้อมคราม จำแนกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่ 1) ลักษณะร่วมทางภูมินิเวศ ชาติพันธุ์ ภาษา 2) การประกอบอาชีพ 3) ความเชื่อและประเพณี 4) ลักษณะร่วมทางภูมิปัญญาผ้าย้อมคราม ด้านบทบาทของผ้าย้อมคราม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครมี 4 ประการ ได้แก่ 1) บทบาทในการแสดงอัตลักษณ์ของชาวสกลนคร 2) บทบาทในการเสริมสร้างรายได้ในฐานะสินค้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร 3) บทบาทการแสดงความภูมิใจในความเป็นท้องถิ่น 4) บทบาทในการแสดงพลังความเข้มแข็งของผู้หญิง ด้านการสืบทอดและการสร้างสรรค์ผ้าย้อมครามพบว่านับตั้งแต่ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ชุมชนผู้ทอผ้าย้อมครามยังคงสืบทอดกระบวนการทอผ้าย้อมครามอย่างเหนียวแน่นและนำมาสร้างรายได้ให้กับครอบครัวรวมถึงชุมชน มีกระบวนการสร้างสรรค์ 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างสรรค์ลวดลาย การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ และการสร้างสรรค์เรื่องเล่าประกอบการขาย

ทุนวิจัยงบรายได้
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาษาไทย
สาขาสังคมวิทยา
คราม
ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรม, ผ้าย้อมคราม, สินค้าทางวัฒนธรรม การสร้างคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ

เจ้าของผลงาน
พรรณวดี ศรีขาว
ปกกสิณ ชาทิพฮด, นิโลบล ภู่ระย้า

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
พรรณวดี ศรีขาว ,ปกกสิณ ชาทิพฮด เเละ นิโลบล ภู่ระย้า . (2560). ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจของผ้าย้อมคราม ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.