งานวิจัย การพัฒนาระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยสำหรับเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร


การพัฒนาระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยสำหรับเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methodology) และดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-based research : CBR) เพื่อตอบคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สถานการณ์ระบบในการผลิตพืชผักของเกษตรกร ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชผักที่เหมาะสมกับวัยสำหรับเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และ 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย คือเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ จำนวน 20 ราย ที่อยู่ในตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรี สุพรรณ จังหวัดสกลนคร ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ village walk แบบสอบถาม แบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การตรวจเยี่ยมแปลงผลิตผัก และปฏิทินการเพาะปลูกผัก เครื่องมือวิเคราะห์ ได้แก่ SWOT และการถอดบทเรียน (AAR) และข้อมูลที่ไต้จาก การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ มีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แล้ว นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์และนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ระบบในการผลิตพืชผักของเกษตรกร ต.ด่านม่วงคำ เกษตรกรยังคงผลิตพืชชนิด เดิมตามที่เคยผลิต (ไม่นับรวมข้าว) เช่น ฟักทอง ฟักหอม ดอกไม้เก็บเมล็ดพันธุ์ ผักใบชนิดต่างๆ ซึ่งเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายนี้เกือบทั้งหมดไม่ได้ประกอบอาชีพผลิตกล้าไม้ขาย เนื่องจากไม่มีเทคนิคเคล็ดลับพิเศษในการ ผลิตและการจำหน่ายที่เป็นความลับจากเกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ถึงแม้พื้นที่ตำบลนี้จะมีชื่อเสียงด้านการ ผลิตกล้าไม้ และจากการที่สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการผลิตทางการเกษตรชนิดต่างๆ จึงทำให้บริษัทเอกชนสนใจ เกษตรกรและทำเกษตรในระบบพันธะสัญญา ซึ่งในการรับซื้อผลผลิตส่วนใหญ่จะไม่มีความยุติธรรมให้แก่ เกษตรกร จึงทำให้เกษตรกรมีหนี้สะสมกับ ธกส. ต่อเนื่อง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรที่นี่ขยันในการ ทำงานถึงแม้จะมีอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ 2) สภาพเศรษฐกิจของเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน มีเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ความ ยากจน (รายได้ 33,636 บ/คน/ปี) ร้อยละ 55, มีเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ 40%(รายได้ 65,832 บ/คน/ปี) ร้อยละ 25, อยู่ในเกณฑ์มัธยฐาน (รายได้ 79,488 บ/คน/ปี) ร้อยละ 10 และเกินเกณฑ์มัธยฐาน ร้อยละ 10 3) ระบบการผลิตพืชผักที่เหมาะสมกับวัยสำหรับเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องมีลักษณะ ดังนี้คือ ต้องไม่ใช้แรงงานหนัก สามารถจัดการด้วยตนเองได้เป็นส่วนใหญ่ ต้องดูแลง่าย จัดการง่าย ไม่ต้องใช้ เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อน และเป็นผักที่ทนเพื่อไม่ต้องเพิ่มการจัดการที่พิเศษ ซึ่งหมายถึงการต้องเพิ่ม เวลาหรือต้องใช้ความแข็งแรงของสุขภาพเข้าไปรักษาระบบของผักชนิดนั้น ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการ เก็บเกี่ยว และหากมีการสัมผัสกับสารแปลกปลอมหรือสารเคมีได้น้อยที่สุดหรือไม่มีจะยิ่งดี ต้องประหยัดทั้งใน ด้านการลงทุนปลูกและดูแลรักษารวมไปถึงการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เมื่อปลูกแล้วมีผู้จัดการการขายให้เพราะส่วนใหญ่ไม่สะดวกในการไปขายสินค้าด้วยตนเอง และเป็นผักที่ครอบครัวสามารถใช้เป็นอาหารได้ด้วย ถ้าหาก เป็นผักที่มีราคาขายที่ดีสม่ำเสมอหรือมีเสถียรภาพของราคาจะช่วยในด้านความสุขของจิตใจ ดังนั้น ผักกุยช่าย จึงมีคุณลักษณะสอดคล้องกับคุณภาพแรงงานของเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ 4) ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรที่กำลังสูงวัยเป็นกลุ่มอาชีพใหม่ คือ “อาชีพผลิตผักกุยช่าย ปลอดภัย” ซึ่งสมาชิกได้ร่วมกันตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผักทอผู้เฒ่า” และทำให้เกิดเป็นเครือข่ายของเกษตรกรที่ กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ คือ เครือข่ายการผลิตและเครือข่ายการตลาด 5) ได้ชุดความรู้ที่เป็น นวัตกรรมการผลิตผักกุยช่ายปลอดภัยตามลักษณะดินที่แตกต่างกันที่ เหมาะสมกับเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เทคโนโลยีการเกษตร
-
-
-
เกษตรกรสูงวัย, ระบบผลิตผักปลอดภัย, เศรษฐกิจชุมชน

เจ้าของผลงาน
นางสาวพิจิกา ทิมสุกใส
นายชายแดน มิ่งเมือง, นายโกวิทย์ พัชรบุษราคัมกุล, นายอุทิศ อินธิแสง, นางมะลิจันทร์ การสำเนียง, นางพรพิษ ผาด่านแก้ว

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นางสาวพิจิกา ทิมสุกใส ,นายชายแดน มิ่งเมือง, นายโกวิทย์ พัชรบุษราคัมกุล, นายอุทิศ อินธิแสง, นางมะลิจันทร์ การสำเนียง เเละ นางพรพิษ ผาด่านแก้ว . (2567). การพัฒนาระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยสำหรับเกษตรกรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.