งานวิจัย การเพิ่มมูลค่าฝ้ายพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ด้วยกระบวนการสังเคราะห์นาโนเซลูโลส


การเพิ่มมูลค่าฝ้ายพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ด้วยกระบวนการสังเคราะห์นาโนเซลูโลส

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคิดค้นกระบวนการใหม่ในการสังเคราะห์นาโนเซลูโล สจากฝ้ายพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร เนื่องจากในปัจจุบันฝ้ายดิบมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 350 สําหรับฝ้ายขาว และฝ้ายตะหลุง หรือ ฝ้ายแม้ว ราคาของฝ้ายชนิดนี้มีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 450 บาท ต้นทุนการผลิตนาโนเซลลูโลส ต่อ 1 กิโลกรัม ในห้องปฏิบัติการจะอยู่ที่ 4,300-6,000 บาท แต่ถ้านําออกขายในราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ราคา 60,000-100,000 บาท ในกระบวนการ สังเคราะห์นาโนเซลูโลสมี 3 ขั้นตอนดังนี้ คือ 1.กําจัดสารปนเปื้อนอื่นออกจากเซลูโลสจากฝ้าย 2. ลดขนาดเซลูโลสให้เล็กลงด้วยไนโตรเจนเหลวบวกกันพลังงานกล 3.นําเซลูโลสไปบดแบบลูกบอล โดยใช้กรดอ่อนเข้าร่วมเพื่อผลิตเป็นนาโนเซลูโลส โดยการวิเคราะห์และยืนยันผลใช้เครื่องมือ XRD และFTIR เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของสารตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่าจากการสังเคราะห์ในกระบวนการที่ 1 พบว่าปริมาณเฮมิเซลลูโลสและ ลิกนินที่มีอยู่ในฝ้ายพื้นเมืองถูกกําจัดออกไปเหลือแต่สารตัวอย่างที่เป็นเซลูโลสบริสุทธิ์ สาร ตัวอย่างสามารถยืนยันได้จากผลของXRD และFTIR หลังจากนั้นนําเซลูโลสบริสุทธิ์ที่ได้ถูกนําไป ทดลองในการทําแผ่นกรองเพื่อกรองสารละลาย Rhodamine B ซึ่งเซลูโลสบริสุทธิ์สามารถกรอง สารละลาย Rhodamine B ได้

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาการจัดการ
-
-
-
ฝ้ายขาว, ฝ้ายตะหลุง, การสังเคราะห์, นาโนเซลูโลส

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. พัลลภ จันทร์กระจ่าง
อาจารย์ ดร. โชคชัย คหัฏฐา, อาจารย์วิทวัส พลหาญ, นางสาวกิตติยา ปลื้มใจ, รศ.ดร.สราวุฒิ บุญเกิดรัมย์, รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์, นายรังสฤษฏิ์ คุณวุฒิ, ดร. ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. พัลลภ จันทร์กระจ่าง ,อาจารย์ ดร. โชคชัย คหัฏฐา, อาจารย์วิทวัส พลหาญ, นางสาวกิตติยา ปลื้มใจ, รศ.ดร.สราวุฒิ บุญเกิดรัมย์, รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์, นายรังสฤษฏิ์ คุณวุฒิ เเละ ดร. ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง . (2567). การเพิ่มมูลค่าฝ้ายพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ด้วยกระบวนการสังเคราะห์นาโนเซลูโลส. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.