งานวิจัย การพัฒนาระบบบัญชีผ่านกระบวนการผลิตของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


การพัฒนาระบบบัญชีผ่านกระบวนการผลิตของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบบัญชีผ่านกระบวนการผลิตของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้าน เชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อ 1) ศึกษาสภาพลักษณะการประกอบการ แนวทางการ จัดทําบัญชี และสภาพปัญหาในการจัดทําบัญชีของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 2) พัฒนาและเสนอระบบบัญชีที่เหมาะสมของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร การวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่างจากการเจาะจงจากของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้าน เชียงเครือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และยืนยันด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน ผลการวิจัย พบว่า สภาพลักษณะการประกอบการ แนวทางการจัดทําบัญชี และสภาพปัญหา ในการจัดทําบัญชีกลุ่มสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มี ประสบการณ์การผลิตเครื่องปั้นดินเผากว่า 10 ปี วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหลักคือดินเหนียวที่มาจาก บริเวณบึงหนองหาร และสั่งซื้อมาจากแหล่งใกล้เคียงซึ่งไม่ห่างจากชุมชน เชื้อเพลิงทั้งหมดมาจากฟืน และ กระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เหมือนกัน คือ 6 ขั้นตอนคือ 1) การพักดิน 2)การหมักหรือ แช่ดิน 3) การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ 4) การตากผลิตภัณฑ์ 5) การตั้งเตาเผา และ 6) การเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ ผลิตกระถางเป็นหลัก และใช้เตาเผาร่วมกัน ด้านจํานวนการผลิตสมาชิกกลุ่มจะผลิตต่อ ครั้งให้เพียงพอต่อการนําเข้าเตาเผาต่อครั้ง โดยกระถางขนาดเล็กจะผลิตจํานวน 300 ใบ กระถาง ขนาดใหญ่ จะผลิตจํานวน 200 ใบ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานมาจากค่าน้ําประปา ค่ากระแสไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ การจําหน่ายจริงทําให้เกิดรายได้จากการขายเป็น 2 แบบ คือจากราคาขายส่ง และ ราคาขายปลีก โดยราคาจากการประมาณการกําหนดไว้เพื่อขายจะแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ มี ราคาตั้งแต่ 19.60 – 50.40 บาท ซึ่งเป็นการกําหนดราคาจําหน่ายจากสินค้าลักษณะเดียวกันที่มีจําหน่ายอยู่ในท้องตลาด ด้านความคุ้มค่าอันมาจากเนื่องจากรายได้จากการจําหน่ายที่ผ่านมา กลุ่ม เครื่องปั้นดินเผามีผลกําไร อยู่ระหว่าง 150,000 บาท – 341,640 บาท เฉลี่ยประมาณ 28,000 ต่อ เดือน การพัฒนาและเสนอระบบบัญชีที่เหมาะสมของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าสมาชิก ขาดความรู้ทางด้านบัญชีและคอมพิวเตอร์ จึงกําหนดการบันทึกบัญชี อย่างง่ายจากแบบฟอร์มทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ใบสําคัญรับเงิน 2) สมุดเงินสดรับ-จ่าย 3) งบ กําไรขาดทุน และการวิเคราะห์ต้นทุนจากผลิตภัณฑ์กระถางเล็กและกระถางใหญ่ พบว่า ภาพรวม ต้นทุนรวมส่วนใหญ่มาจากค่าแรง เช่น ค่าแรงปั้น และค่าแรงอื่น รองลงมาคือวัตถุดิน เช่น ดิน ไม้ ส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานมาจากค่ากระแสไฟ และค่าน้ําประปา การจําหน่ายจริงทําให้เกิดรายได้จาก การขายเป็น 2 แบบ คือ ขายส่งและขายปลีก โดยราคาจากการประมาณการกําหนดไว้เพื่อขายจะ แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ มีราคาตั้งแต่ 30 – 150 บาท ซึ่งเป็นการกําหนดราคาขายจากสินค้า ลักษณะเดียวกันที่มีจําหน่ายอยู่ในท้องตลาด

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาการจัดการ
การบัญชี
-
-
เครื่องปั้นดินเผา, การบันทึกบัญชี , ต้นทุน

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร. นิรมล เนื่องสิทธะ
ผศ.ดร. นันทกาญจน์ เกิดมาลัย, ผศ.จินตนา จันทนนท์, นางอุดมพร บุตรสุวรรณ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร. นิรมล เนื่องสิทธะ ,ผศ.ดร. นันทกาญจน์ เกิดมาลัย, ผศ.จินตนา จันทนนท์ เเละ นางอุดมพร บุตรสุวรรณ์ . (2567). การพัฒนาระบบบัญชีผ่านกระบวนการผลิตของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.