งานวิจัย การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีด้านผ้าทอในจังหวัดสกลนครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนสู่สากล


การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีด้านผ้าทอในจังหวัดสกลนครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนสู่สากล

การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัต ลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีในจังหวัดกสกลนครที่มีความโดดเด่นด้านผ้าทอ 2) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลอัตลักษณ์ ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน และ3) เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชมท่องเที่ยวนวัตวิถีในจังหวัด สกลนครให้เป็นที่รู้จักในระดับสากลผ่านช่องทางออนไลน์ประซากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แด้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน จำนวน 60 คน คน จากชุมชนนวัตวิถีด้านผ้าทอในจังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่เปิดกว้าง โดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า วัตถุดิบหลักในการย้อมผ้าฝ้ายของบ้านหนองครองและผ้าไหมของบ้านหนองแช้คือคราม ซึ่งชุมชนได้พัฒนาการปลูกและใช้ทรัพยากรธรรรมชาติในการย้อมสีเส้นฝ้ายและเส้นไหมให้มีความคงทน ทั้งนี้การทอ ผ้าฝ้ายและผ้าไหมมีความแตกต่างกันในกระบวนการเตรียมวัตถุดิบและการทอ โดยผ้าฝ้ายย้อมครามเน้นการต้มและ ล้างฝ้ายหลายครั้งก่อนการย้อม ขณะที่ผ้าไหมย้อมครามต้องการการดูแลหนอนไหมและการสาวเส้นไหมจากรังไหม รวมถึงการใช้สีเคมีในการย้อมเส้นไหมเพิ่มเติม ในด้วดลายผ้าทอ ทั้งสองชุมชนมีการสืบทอดลวดลายจากบรรพ บุรุษและพัฒนาลวดลายใหม่จากแรงบันดาลใจในอดีต เช่น ลายพรมมาของบ้านหนองครองและลายตุ้มหวีของบ้าน หนองแข้ ลวดลายเหล่านี้สะท้อนถึงประวัติและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้วิจัยได้รวบรวมอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีด้านผ้าทอและพัฒนาฐานข้อมูลในรูปแบบภาษาษาอังกฤษ และภาษาจีน เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนในระดับสากล โดยข้อมูลถูกจัดหมวดหมู่อย่าง ชัดเจนประกอบด้วยอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ผ้าทอ การประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีถูกดำเนินการผ่านช่องทางออฟไลน์และ ออนไลน์ โดยการใช้แผ่นพับและเฟซบุ๊กเพจ English for Cultural Tourism ที่ผู้วิจัยดูแล เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลก ผลการวิจัยนี่สรูปว่าอัตลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีในด้านผ้าทอในจังหวัดสกลนคร มีความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-
-
-
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, อัตลัตลักษณ์ผ้าทอของชุมชน, อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี

เจ้าของผลงาน
อาจารย์นภาไล ตาสาโรจน์
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์นภาไล ตาสาโรจน์ . (2567). การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีด้านผ้าทอในจังหวัดสกลนครเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนสู่สากล. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.