หมอลำขอข้าว: ภาพสะท้อนการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมเชิงศีลธธธรรม ในสังคมชาวนา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนาอีสาน
งานวิจัยเรื่อง หมอลําขอข้าว: ภาพสะท้อนการดํารงอยู่ของวัฒนธรรมเชิงศีลธรรมในสังคมชาวนา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนาอีสาน เป็นการพยายามอธิบายและทําความเข้าใจปรากฎการณ์การ เปลี่ยนแปลงของสังคมชาวนาอีสาน โดยผ่านปรากฏการณ์ “หมอลําขอข้าว” เป็นกรณีศึกษาเพื่อสะท้อนการ เปลี่ยนแปลงสังคมชาวนาอีสาน ในสภาวการณ์ที่สังคมชาวนาการเคลื่อนตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบทุน นิยม โดยผู้ศึกษามีเหตุผลประกอบในการที่เลือกปรากฏการณ์หมอลําขอข้าว เป็นกรณีศึกษาก็เนื่องลักษณะ พิเศษของปรากฏการณ์ 3 ประการหลักๆ คือ ประการที่ หนึ่ง ปรากฏการณ์หมอลําขอข้าวเป็นปรากฏการณ์ เชิงเศรษฐกิจ ที่มีลักษณะการแลกเปลี่ยนในแบบพิเศษแบบ “ต่างตอบแทน” (Reciprocity) ที่ไม่มีตัวกลาง และการวัดมูลค่าในระบบตลาดมากับควบคุมในการแลกเปลี่ยน อันเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นที่สําคัญของระบบ เศรษฐกิจเชิงศีลธรรมในสังคมชาวนา ประการที่ สอง ปรากฏการณ์ “หมอลําขอข้าว” เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนหลักประกันทางสังคมใน การดํารงชีวิตของชาวนา อันเป็นปัญหาพื้นฐานที่ทําให้ชาวนาต้องสร้างระบบเศรษฐกิจเชิงศีลธรรมขึ้น ภายใต้ หลักการ “ปลอดภัยไว้ก่อน” (safety-first principle) ในวิถีการดํารงชีพของสังคมชาวนา ที่ชาวนาต้องเผชิญ กับสภาวการณ์ความเสี่ยงที่ไม่อาจควบคุมได้ และประการที่ สาม ปรากฏการณ์หมอลําขอข้าว เป็นยุทธศาสตร์ สําคัญของการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทรัพยากร อันเป็นพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทนใน สังคมเศรษฐกิจชาวนา การวิจัยครั้งนี้อยู่บนฐานเหตุผลการออกแบบการวิจัยในแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เพื่อทําความเข้าใจประเด็นการวิจัยให้ชัดเจน โดยเฉพาะในมิติของความหมายของระบบเศรษฐกิจ เชิงศีลธรรมในสังคมชาวนา ที่ถูกสร้างขึ้นท่ามกลางการรับรู้ความจริงทางสังคมที่สามารถสะท้อนออกมาผ่าน การแสดงหมอลําขอข้าวซึ่งเป็นปรากฎการณ์กรณีศึกษา โดยการดําเนินการวิจัยครั้งนี้ จะอยู่ภายใต้แนวคิดและ ปรัชญาการวิจัย แบบวิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Approach) ในการตอบคําถามการวิจัยหลักของ การศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยที่เน้นการศึกษากรณีที่มีความเฉพาะเจาะจง และจุดเน้นอยู่ที่สิ่งที่ถูกศึกษา (Case) ซึ่งในกรณีนี้คือ “หมอลําขอข้าว” ซึ่งอาศัยปรัชญาในแบบการตีความ (interpretive) ตามแนวทางสาย ความคิดของกลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) ผลการศึกษาพบว่า หนึ่ง หมอลําขอข้าวเป็นหนึ่งในกลยุทธการดํารงชีพของกลุ่มของกลุ่มหมอลําภาค อีสาน ที่นําเอาทักษะภูมิปัญญาเรื่องการแสดงมาปรับใช้เพื่อการเข้าถึงทรัพยากรในการดํารงชีพ ภายใต้บริบท ความเข้าใจในมิติของวัฒนธรรม “ข้าว” ที่เป็นศูนย์กลางของความเชื่อประเพณีและวัฒนธรรมของผู้คนในภาค อีสาน จนก่อเกิดขึ้นเป็นประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้าวที่เรียกว่า “ฮีตสิบสอง” สอง ขณะเดียวกันการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมของอีสานก็ไม่ได้หยุดนิ่ง จากสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งที่แรงที่ผลักดันผลิตเพื่อ ยังชีพการผลิต ให้เลื่อนเข้าสู่การผลิตแบบสองขาคือเพื่อยังชีพและแลกเปลี่ยน ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มเห็น ได้อย่างเด่นชัดว่า การผลิตแบบสองขาของอีสานคือเพื่อยังชีพและแลกเปลี่ยน เริ่มเคลื่อนย้ายเข้าสู่การผลิต เพื่อแลกเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากการเพิ่มขึ้นของระบบความสัมพันธ์ของผู้คนที่ มีแนวโน้มเปลี่ยนเข้า สู่รูปแบบความเป็นเมือง ในความหมายทั้งความเป็นเมืองเชิงกายภาพและความเป็นเมืองเชิงวัฒนธรรม สาม อย่างไรก็ตามแม้ว่าสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจของอีสาน จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเงินตราที่อาศัย การแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบตลาดมากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า หมอลําขอข้าวยังคงมีที่มีทาง สามารถดิ้นรนอยู่ได้ ท่ากลางยุทธศาสตร์เชิงศีลธรรมที่แฝงฝังอยู่ในสังคมอีสาน ผ่านเรื่องของ “น้ําใจ”