การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร ฯ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สําเร็จ (Executive Functions : EF) สําหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนในระดับปฐมวัย สังกัดสนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร 2) รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สําเร็จ สําหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 3) แบบวัดสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลกํารวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาระดับสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร จากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 50 คน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.51, S.D. = 0.53) แบ่งเป็นรายด้าน ด้านพฤติกรรมหรือวินัยเชิงบวก อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.73, S.D. = 0.55) ด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.58, S.D. = 0.50) ด้านทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.57, S.D. = 0.53) และด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.15, S.D. = 0.55) 2. ผลการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สําเร็จ สําหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย องค์ประกอบของรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดทฤษฎี 3) หลักการของรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 6) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและการประเมินผล และ 9)การสะท้อนผล (Feedback) 3. ผลการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร หลังจากได้รับการพัฒนาตามรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สําเร็จ สําหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 37 คน มีระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยเฉลี่ยเท่ากับ78.58 อยู่ในระดับสมรรถนะสูงมาก คะแนนพัฒนาการสูงที่สุดเท่ากับ 92.86% อยู่ในระดับสมรรถนะสูงมาก และคะแนนพัฒนาการต่ําที่สุด เท่ากับ 55.56 % อยู่ในระดับสมรรถนะสูง 4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สําเร็จ สําหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.26,S.D. = 0.96)