งานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการกับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการกับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการกับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ สําหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการกับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ในประเด็นดังต่อไปนี้2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนน ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการ กับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นกับ เกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังจากใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จํานวน 200 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมิน ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการกับท้องถิ่นในยุค การศึกษาในชีวิตวิถีใหม่และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยลุ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t–test แบบ Dependent Samples และ One–sample t-test ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ที่มาและความสําคัญ 2) หลักการ 3) แนวคิดการพัฒนารูปแบบ 4) จุดประสงค์ 5) เนื้อหาและสาระการเรียนรู้ 6) กระบวนการจัดการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ และ7) การวัดและประเมินผล 2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการ กับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในประเด็นดังต่อไปนี้ 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขี้นอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( = 4.63 , S.D. = 0.29 )

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
ครุศาสตร์
หลักสูตรและการสอน
-
-
รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, บูรณาการกับท้องถิ่น

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร. ผกาพรรณ วะนานาม
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร. ผกาพรรณ วะนานาม . (2567). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน เพื่อบูรณาการกับท้องถิ่นในยุคการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.