งานวิจัย การพัฒนาครูต้นแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร


การพัฒนาครูต้นแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการพัฒนาครูต้นแบบด้านการจัด กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือช่าย เพื่อส่งเสริม ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูต้นแบบด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 3 ) เพื่อติตามประเมินผลของครูหลังการพัฒนาตามรูปแบบ ใน การสร้างชุมชนครูต้นแบบด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ครู ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่ การศึกษามัธอมศึกษาจังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 50 คน โดยวิธีการเลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) จากครูผู้สอนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการพัฒนา ครูต้นแบบด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียบน เครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทฤทธิ์ทางด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการจัดการ เรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 3) แบบติดตามประเมินผลการสร้างชุมชนครูต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย คำเบี่ยงเบนมาตรฐาน (5.D.) สถิติทดสอบที่ (t test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูต้นแบบด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลกลนคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมการพัฒนาครูต้นแบบ 5) ประเมินผลด้านการจัดกิจกรรมการ จัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบฯภาพรวมความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมากที่สุด 2. ผลการพัฒนาครูต้นแบบด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครู หลังการ พัฒนามีคะแนนสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ.05 ผลการประเมินผลของครูหลังการพัฒนาตามรูปแบบ ในการสร้างชุมชนครูต้นแบบด้านการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียน บนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ภาพรวมอยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.32

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
ครุศาสตร์
นวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา
-
-
รูปแบบสิ่งเวดล้อมทางการเรียนรู้, คอนสตรัศติวิสต์, ห้อมรียนกลับด้าน, การเรียนรู้ในตวรรรษที่ 21, นักศึกษาวิชาชีพครู

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. วสันต์ ศรีหิรัญ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. วสันต์ ศรีหิรัญ . (2567). การพัฒนาครูต้นแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนแบบกลับด้าน ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถิติการเข้าชม