งานวิจัย โรงเรือนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดระบบปิดโดยใช้เทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิผลิต จิ้งหรีดนอกฤดูกาลสำหรับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์จังหวัดสกลนคร


โรงเรือนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดระบบปิดโดยใช้เทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิผลิต จิ้งหรีดนอกฤดูกาลสำหรับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์จังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออกแบบพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงจิ้งทรีตระบบบ. อัจฉริยะ) โดยใช้หลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน สร้างสภาวะที่เหมาะสม ต่อการ ขยายพันธ์ของจิ้งหรีด เพิ่มผลผลิตนอกฤดูกาล และให้ได้มาตรฐาน GAP ร่วมกับการพัฒนา ระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งในการการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด แบบอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงจิ้งหรีดเชิง พาณิชย์ มุ่งเน้นการออกแบบโรงเรือนเพื่อใช้ประโยชน์จากอุณหภูมิและควบคุมสภาพแวดล้อมใน โรงเรือน การติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์ควบคุม การติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น พร้อมกับ พัดลมดูด พัดลมเป้า ปั๊มน้ำพ่นหมอก และระบบแสงสว่าง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการวางแนว อาคารตามทิศทางตะวันออก-ตะวันตกสามารถลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวอาคารได้ และมีช่องเปิด ㆍㆍ 100 ทางด้านทิศเหนือ-ทิศใต้เพื่อรับลมสามารถช่วยระบายความร้อนภายในโรงเรือนได้ การเลือกใช้แผ่น หลังคาเมทัลชีทเพื่อให้เกิดความร้อนบริเวณหลังคาช่วยหมุนเวียนอากาศผ่านพัดลมูดอาดอากาศ บริเวณใต้หลังคา ในช่วงฤดร้อนอุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าภายนอกและสามารถระบายอากาศ ด้วยพัดลมดูดอากาศ ในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิภายในโรเรือนที่สูงกว่าภายนอก ช่วยให้ภายในโรงเรือน มีสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจิ้งหรีด ร่วมกับความสามารถในการควบคุมโรงเรือน เพาะเลี้ยงจิ้งหรืดระบบอัจฉริยะและปรับตั้งค่าการทำงานผ่านหน้าจอควบคุมและโทรศัพท์มือถือได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการรับรู้ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว การเพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดการระบบเลี้ยงจิ้งหรีดให้อยู่ในสภาวะที่ดีที่สุดตลอดเวลา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจิ้งหรืดในพื้นที่ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร จากการทดลองเลี้ยง จิ้งหรีดในโรงเรือนต้นแบบเปรียบเทียบกับการเลี้ยงในระบบเปิดและเก็บบันทึกข้อมูลอุณหภูมิภายใน โรงเรือน พบว่าในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกโรงเรือน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิ เมื่อวัดค่าในช่วง 5 วัน พบว่า อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 22.13 "C และสูงสุดอยู่ที่ 42.92.92 "C เมื่อทดสอบการควบคุมด้วยมือ พบว่า พัดลม ดูดจะทำงานตั้งแต่เวลา 16:00-24:00 และพัดลมเป้าจะทำงาน ณ เวลา 0:00:00 น. ถึง 11:00:00 น. และปั๊มพ่นละอองหมอกจะทำงาน ณ เวลา 12:00:00 น. ถึง 15:00:00 น. มีค่าเท่ากับ 1 ซึ่งระบจะ หยุดการทำงาน เมื่อมีค่าเท่ากับ 0 แต่การทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ พบว่า พัดลมดูดจะทำงานตั้งแต่ 11:00:00 น. ถึง 15:00:00 น. และพัดลมเป้าอากาศ (Fan in) จะเริ่มทำงาน ณ เวลา 03:00:00 น. ถึง 10:00:00 น. มี ค่าเท่ากับ 1 ซึ่งระบบจะหยุดการทำงาน เมื่อมีค่าเท่ากับ 0 เช่นเดียวกับระบบการควบคุมด้วยมือ และ การทำงานของปั๊มพ่นหมอก (WATER) จะมีค่าเท่ากับ 0 เนื่องจากอุณหภูมิยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ การควบคุมด้วยแอปพลิเคชั่น Blynk พบว่าสามารถควบคุมพัดลมดูดและพัดเป่าอากาศภายใน โรงเรือนได้ดี และสามารถควบคุมการพ่นละอองหมอกเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศได้ ตามเงื่อนไข ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนที่เลี้ยงจิ้งหรีดเชิง พาณิชย์ เน้นการส่งเสริมความเข้าใจและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเลี้ยงจิ้งหรีด ให้กับชาวบ้าน การปรับใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเลี้ยงจิ้งหรืด นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการแนะนำเรื่องการจัดการธุรกิจและการตลาด สินค้าเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงจิ้งหรีดในเชิงพาณิชย์ การ พัฒนานี้ยังเชื่อมโยงกับแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยสร้างชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน และการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรืด ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะ ยาวด้วยเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในอนาคต

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-
-
-
โรงเรือนอัจฉริยะ,สถาปัตยกรรม, สภาพอากาศ, จิ้งหรืด, อินเทอร์เน็ตทุกศรรพสิ่ง

เจ้าของผลงาน
อาจารย์อาณัฐพงษ์ ภาระหัส
ผศ.ดร.กฤษฎา พรหมพินิจ, อาจารย์ภัทราวุธ ศรีคุ้มเก่า, อาจารย์ภาคภูมิ ซอหนองบัว

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์อาณัฐพงษ์ ภาระหัส ,ผศ.ดร.กฤษฎา พรหมพินิจ, อาจารย์ภัทราวุธ ศรีคุ้มเก่า เเละ อาจารย์ภาคภูมิ ซอหนองบัว . (2567). โรงเรือนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดระบบปิดโดยใช้เทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิผลิต จิ้งหรีดนอกฤดูกาลสำหรับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.